Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

Review Grado SR80


Grado SR80


Grado SR80 หูฟังไลน์ถัดมาจากตัว SR-60 ซึ่งให้น้ำเสียงในรูปแบบที่ค่อนข้างแตกต่างไปจาก SR-60 มากเลยทีเดียว ถ้าดูกันที่ภายนอกเผินๆจะค่อนข้างคล้ายๆกันมากๆ จุดแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดๆมีเพียงแต่ตัวเลข SR80 เท่านั้น ส่วนอื่นๆเหมือนกันแทบทั้งหมด

ตอนที่ผมเอาหูตัวนี้เปลี่ยนขึ้นมาแทน SR60 ผมก็ต้องรู้สึกแปลกประหลาดใจอย่างไร มันเหมือนมีน้ำเย็นๆสาดเข้ามาระหว่างกำลังฟังเพลง เพราะน้ำเสียงของนักร้องมันกังวาลสว่างใสขึ้นมาทันทีทันควันเหมือนดั่งเปิด ไฟสปอร์ตไลท์ ตอนแรกผมคิดว่าเข้าใจอะไรผิดไปแน่ๆ เลยหยิบเอา SR60 มาตั้งต้นฟังใหม่ จากนั้นก็ลองเปลี่ยน SR80 มาเปลี่ยนอีกที.... โอ้ว แม่เจ้า... ไม่ได้เข้าใจอะไรผิดไปเลยแม้แต่เหล็กหุนเดียว

เสียงกลองที่ว่าได้ยินชัดแล้วจาก SR60 ตัวนี้ยิ่งทำได้ดีกว่าอีกครับ แต่ก็ไม่ถึงกับชัดกว่ามากๆ แต่เรียกว่า ชัดขึ้นมาได้อีกนิดเลยครับ ฟังแล้วผมอึ้งๆไปนิดนึง แค่เปลี่ยนเบอร์อารมณ์มันก็เปลี่ยนไปได้ขนาดนั้นเชียว กลองมีความสว่างและสดกระจ่างมากขึ้น ช่วงสแนร์ที่เคยคลุมเครือไปหน่อยเมื่อยามฟังกับ SR60 กันพลันสว่างสดใสขึ้นมาทันควัน ทำให้เสียงมีความเป็นสแนร์มากขึ้น แต่มวลกลองก็ลดลงไปอย่างรู้สึกได้ทันที

พวก Soundstage นี่ผมว่าทำได้เท่ากับ SR60 เลยครับ แต่จุดเด่นๆจริงคงจะเป็นเรื่องความใสนี่แหละครับ ที่มันสว่าง มัน Bright กว่าเยอะ มันทำให้ผมรีบเปลี่ยนเอา Do it to me one more time มาลองฟังซ้ำๆชัดๆอีกครั้งนึง เสียงเจ๊แกสว่างใสขึ้นมาเลยครับ ความรู้สึกที่แตกต่างจาก SR60 ก็ตรงที่เวลาฟังเพลงกับ SR60 จะเหมือนเรากำัลังฟังเพลงในแสงที่สลัวๆทึมๆหน่อย ในขณะที่เวลาฟังกับ SR80 จะรู้สึกเหมือนกำลังฟังอยู่ท่ามกลางที่สว่างสดใส

เสียงย่านสูงจะออกสดและปลายออกจัดเล็กน้อย แต่ยังไม่ถึงขั้นระดับของ Rs-2 หรือ RS-1 ปลายย่านสูงทอดตัวไปได้ดี มีความใสกังวาล แต่ด้วยความที่ย่านสูงเหมือนกับกำลังถูกยัดเยียดให้มัน Bright กว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ออก Color มากๆ จนพวกเสียงอย่าง แฉ หรือ ไฮแฮท จะมีกลืนๆกันบ้างถ้าขึ้นมาใกล้ๆกัน เพราะความที่น้ำหนักของเสียงมันดันไปใกล้เคียงกันจนเกินไปนั่้นเอง


ส่วนที่เปลี่ยนไปจาก SR60 อีกอย่าง คือ มวลเบสที่ถูกขจัดจนลดลงแบบเห็นได้ชัด คงเหลือแค่ impact เบสบ้างเล็กน้อย และให้ middle อีกหน่อย ดังนั้นคนที่ฟังเพลงที่ Rythm ของ เบสเป็นชีวิตจิตใจ คงจะไม่ค่อยเหมาะกับตัว Sr80 ซึ่งถ้าว่ากันตามจริง revew อันแต่ก่อนผมก็คิดว่า SDR80 น่าจะไปเหมาะกับพวกดนตรี Classic มากกว่า แต่ฟังไปฟังมา รู้สึกจะไม่เหมาะแล้ว น่าจะเหมาะกับ กับคนที่ชอบฟังดนตรีประเภทเครื่องสายมากกว่าน่ะครับ เพราะ Grado ที่ให้เสียงจัดๆแบบนี้ มักจะให้ detail ของกีต้าร์ได้ดี

ผมว่าแนวเสียงของตัวนี้จะออกไปทางเน้นใส สว่าง บาดหัวใจ น้ำเสียงโดยทั่วไปจะเหมือนเอา SR60 มาลบเบสทิ้งไป แล้วเพิ่มความใสใส่เข้าไปแทนครับ ก็เรียกว่าเป็นอีกสไตล์ของ SR60 ซึ่งก็แล้วแต่นะครับ ถ้าคุณเป็นแฟน Grado แล้วชอบความ Bright หน่อย ก็อาจจะอยากได้ SR80 ไปฟังก็เป็นได้ เพราะเรื่องพวกนี้ ต่อให้ผมบอกไป แต่ถ้ารสนิยมเราไม่ตรงกัน ก็เลือกเอาที่ถูกใจเราไว้่ก่อนดีกว่าครับ

SPEC

Features:
Vented diaphragm
Non Resonant air chamber
Standard copper voice coil wire
Standard copper connecting cord
mini plug with 1/4" adaptor

Tranducer type : dynamic
Operating principle : open air
Frequency response : 20-20
SPL 1mV : 98
Normal impedance : 32ohms
Driver matched db : .1

Review AKG K701


AKG K701

ว่ากันที่รูปลักษณ์ภายนอก แค่มองจากรูปก็ต้องร้อง... โอ๊ะ แม่เจ้า !.... พอไปเจอของจริงก็ต้องอุทาน ... พระเจ้าช่วยกล้วยทอด!!... ทำไม Design ได้เด็ดขาดขนาดนี้ ทำไมถึงไม่เหมือนในรูป ในรูปดูดีกว่า ของจริงก็สวยครับ สวยมากๆเลยด้วยซ้ำ แต่ตอนเห็นรูปผมนึกว่าจะเป็น อลูมิเนียมทั้งตัวซะอีก พอดูของจริงถึงรู้ว่าเป็นพลาสติกสีขาว แต่ขอบอกว่า เข้าคู่กับ iPOD สุดๆเลยครับ


วัสดุที่นำมาใช้ประกอบตัว K701 เลือกได้ค่อนข้างดีทีเดียวครับ แม้จะดูว่าเป็นพลาสติกที่ออกไปทาง iPOD หน่อยๆ แต่ก็เหนียวแน่นและแข็งแรงทีเดียว ตรงช่วงก้านที่อยู่ช่วงคาดหัวซึ่งเป็นเส้นทางผ่านของสายจากหูด้านซ้ายมา ด้านขวา ก็ใช้พลาสติกยางอย่างดีหุ้มเอาไว้ และเท่าที่ใช้มาระยะนึงประกอบกับเห็นคนอื่นๆใช้ ผมรู้สึกว่ายางตัวนี้ไม่พังง่ายๆด้วยครับ ยังไม่เคยเจออาการยางหุ้มหลุดให้เห็นซักที แถมตัว PAD ที่ทำจากกำมะหยี่ก็แข็งแรงดี ไม่ยุบตัวง่ายๆ แต่ข้อเสียคือใช้ไปนานๆแล้วจะเหลือง ส่วนที่เหลือ ทั้งตัวสายเองและแจ็คก็ถือว่าทำได้ออกมาได้เนี้ยบดีทั้งหมด ยกเว้นอย่างเดียวที่ไม่ดี คือ แจ๊คแปลงจากเล็กไปใหญ่ที่แถมมาในกล่องนั้น เป็นแจ๊คที่แยกมาก นอกจากจะเสียบไม่แน่นแล้ว ยังอาจจะไปงัดรูแจ๊คของแอมป์เอาได้ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปใช้ หรือ เลี่ยงไปใช้ของยี่ห้ออื่นจะดีกว่าครับ



ในเรื่องของเสียง


สิ่ง ที่จะประจักษ์ต่อหูครั้งแรกที่ทุกคนได้ฟัง คือ Soundstage ครับ ไม่น่าเชื่อว่า มันกว้างมากกกก..... ในขณะที่ผมคิดว่า UE super.fi pro5 นี่ให้ soundstage ได้ดีที่สุดแล้วเชียว เจอตัวนี้เข้าไป UE แคบไปถนัดเลยครับ.. อย่างเก่ง UE ก็ให้ soundstage ได้ถึงแถวติ่งหูครับ แต่ของ K701 อ้อมหลังไปเลยครับ ลักษณะ soundstage เหมือนล้อมรอบตัวเราไปเลยครับ เรียกว่า soundstage และมิติของเสียง เป็นแบบ 3D เลยครับ เมื่อเวลาเพลงขึ้น จะรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างหลุดออกไปอยู่นอกหัวของเรา เสียงจะโปร่ง โล่ง เหมือนเราไม่ได้กำลังใส่หูฟังแต่อย่างใด นักดนตรีทุกคนก็พากันเล่นดนตรีอย่างมีความสุข ชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นก็อยู่แยกตัวก็อย่างอิสระ แต่อย่างว่า จะเอา Fullsize ลงไปเทียบกับพวก In-ear มันก็กะไรอยู่ เพราะ soundstage มันเกิดจากผลของระยะห่างจาก driver กับหูเราน่ะครับ แถมขนาด driver ก็ต่างกันโข ว่ากันยากเรื่องแบบนี้

รายละเอียดของเสียงกลางผมว่าดีเยี่ยมมากๆเลยครับ เสียงที่เคยหลบๆซ่อนๆเวลาฟังกับหูตัวอื่น ตัวนี้ก็แสดงออกมาได้ชัดเจน แถมมีประกายของเสียงด้วยครับ บางเพลงจะได้ยินเสียงได้ พิ๊ง.... พิ๊ง... เบาๆ ปรกติสิ่งเหล่านี้ UE ไม่เคยมอบมาให้ผมเลย -_-'a เสียงโดยรวมจะออกใสๆ แต่ smooth ไม่บาดหูแต่ประการใด แม้แต่เสียงเครื่องดนตรีประเภทเป่า อย่างทรัมเปท หรือ แซ๊ก ที่เวลาพี่แกเทคขึ้นสูงๆ ถ้าเจอกับ UE นี่ผมต้องหรี่ให้ไว.. แต่พอฟังกับ AKG K701 ผมรู้สึกsmooth ไปกับมันมากๆครับ มันมีการไต่ระดับของ melody ได้พริ้วจริงๆเลยครับ

เสียงไลน์ของกีต้าร์ก็ชัดเจนมากครับ แต่เสียงกลองเนี่ย ออกนุ่มนวลสุดๆเลยครับ เสียงกลองจะไม่แข็งกระด้างเหมือนกับที่ Super.Fi ผมทำได้ แต่ดันไปออกนุ่มๆเหมือนกับที่ UM2 ในขณะที่เสียงอื่นๆไม่ได้มัวเหมือนกับ UM2 เลยครับ ทุกอย่างยังคงกระจ่างใส แต่มีความนุ่มนวลของโทนเสียงต่ำอยู่เต็มเปี่ยมครับ

เรื่องเบสไม่ต้องห่วงครับ มีแน่นอน แต่จะไม่จัดจ้านเหมือน KSC35 หรือ K26P เบาจะออกนุ่มๆ ละมุนละไมเหมือนทาง Grado MS-1 แต่ผมว่า มันนุ่มนวลกว่า MS-1 อีกครับ อาจจะไม่ถูกใจกับเบส lover เท่าใดนัก เพราะเบสไม่กระโชกโฮกฮาก เต็มท้วมอวบอิ่ม แต่สำหรับผม แค่นี้เพียงพอแล้วครับ สำหรับ R&B และ Jazz

เสียง Vocal ก็มีความเป็นมิติมากๆเลยครับ เคยเห็นเสียงร้องเป็น 3 มิติไม๊ครับ ตัวนี้ให้ความรู้สึกได้ประมาณนั้นเลยครับ ผมลองเอาเจ๊ Norah test ดู เพราะคุ้นๆว่า มีคนเตือนเรื่องเจ๊ norah ครับ แกบอกอย่าเอาไปลองฟังกับ K701 นะ ไม่งั้นจะต้องได้หิ้วกลับบ้านแน่ๆ... ซึ่ง ผมไม่ใช่คนหูเบาเชื่อคนง่ายอะไรแบบนั้นครับ เพราะผมเป็นคนหนักแน่นครับ การที่แค่เพลงๆเดียวจะทำให้ผมถึงกับต้องหิ้วเห้วอะไรกลับบ้านนี้ เป็นไปไม่ได้ครับ... ยากกก... ปัจจุบันมันเลยวางแหมะอยู่ในห้องผมนี่แหละครับ K701... ฮือๆ.... ไม่น่าหาเรื่องเลย... นอกเรื่องมากไปแล้ว ต่อๆครับ คือ เสียงเจ๊ Norah จะลอยออกมาแบบเด่นมากๆครับ เสียงเจ๊แกมหัศจรรย์สุดๆเลยครับ ไต่โทนไล่ระดับได้ smooth มากๆ ถึงขนาดผมฟังแล้วรู้สึกว่าเห็นรูปแบบของเสียงเป็นรูปเป็นร่างเป็นมิติเลย ครับ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ผมก็ฟังเพลงเจ๊แกทุกคืนนั่นแหละครับ แต่ยังไม่เคยรู้สึกถึงความเป็นมิติได้แบบนี้มาก่อนเลย นี่ถ้าไม่ซื้อมาเองคงยังไม่เชื่อหูนะครับ ผมคงคิดว่าตอนนั้นที่ลองฟังอาจจะหลอนไป แต่พอมาตั้งใจฟังเองดีๆ ก็ยังรู้สึกเหมือนดั่งที่ฟังครั้งแรกครับ ที่สำคัญ ตอนที่เจอเพลง Pointer Song ของเจ๊ Norah ช่วงต้นๆเข้าไป ผมถึงกับอึ้งครับ ใครอยากรู้ว่าทำไมถึงอึ้ง แนะนำให้พกไปลองครับ....

เห็นผมชื่นชมขนาดนี้ นั่นเพราะมันแพง เอ๊ย... เพราะมันให้เสียงที่ดีจริงๆครับ ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ผมต้องทุ่มทุนจนต้องไปรอ lotus หลัง 2 ทุ่ม แล้วเดินวนๆกั๊กๆแถวกระบะลดราคาหรอกนะครับ ( ยิ่งพิมพ์ยิ่งเห็นภาพ ยิ่งเข้าตัว ) อย่าแปลกใจที่เร็วๆนี้ผมอาจจะปล่อยหูฟังหลายตัว เพราะชักจะไม่ไหวแล้วครับ เริ่มจะได้เวลารับประทานแกลบแทนข้าวเช้า มาม่ากลางวัน เย็นต้องลูบท้องด้วยน้ำเปล่า เพราะเดี๋ยวมาม่าหมด stock ก่อนจะถึงปลายเดือน...

ยังมีข้อนึงที่ผมค่อนข้างแปลกใจ คือ ผมรู้สึกเกร็งนิดๆครับ เวลาฟังกับ K701 ทำให้มันเมื่อยบริเวณขมับกับคอมากครับ เมื่อยเหมือนคนนั่งเกร็งหน้านานๆน่ะครับ ไม่เข้าใจว่าอาการนี้มันเกิดขึ้นเพราะอะไร เวลาฟังกับ MS-1 นี่ไม่เป็นนะครับ ตอนนี้ผมรู้สึกเมื่อยหน้าเมื่อคอแปลกๆ ทั้งๆที่มันก็ไม่ได้หนักอะไรเลยครับ ค่อนข้างเบาด้วยซ้ำ หรือ จะเป็นอาการแพ้ของแพง 55555 คาดว่าอีกซักพักน่าจะดีขึ้นกว่านี้ครับ ตอนนี้ต้องนวดคอไปพลางๆครับ .... ลองกับหูฟังตั้งหลายยี่ห้อ เพิ่งเจอตัวนี้แหละที่เป็นแบบนี้ .... แปลกมากๆเลยครับ....

อ่านแล้วก็อย่าเชื่อจากความรู้สึกของผมซะ 100% ล่ะครับ จำไว้ 50% แล้วเก็บไปลอง test ดูครับ ผมแนะนำว่า ถ้ามีโอกาสให้ไปลองฟังกับที่ร้าน AV ที่มาบุญครองตรงทางออกรถไฟลอยฟ้าน่ะครับ ฟังดูว่าชอบไม๊ แล้วรู้สึกเมื่อยเหมือนผม เอ๊ย รู้สึกว่าเสียงให้อารมณ์เดียวกับที่ผมรู้สึกไม๊...

ถ้ายังไง ไปฟังแล้วก็อย่าไปชอบมันนะครับ

ไม่งั้นจะหมดตัว

SPEC

Type : Open-back, dynamic headphones
Efficiency : 105 dB/V
Frequency range : 10 Hz to 39.8 kHz Rated
impedance : 62 ohms
Max. input power : 200 mW
Cable : bi-wiring, single-sided, 99.99% oxygen-free cable, 3 m (10 ft.)
Connector : 1/4" hard gold plated
Net weight : (without cable) 235 g (8.3 oz.)

Patent(s) Varimotion – multiple-thickness diaphragm for dynamic transducer

Review Sennheiser HD650


Sennheiser HD650


http://www.qfonic.com/images/products/sen-hd650/image01.jpg

สำหรับตัวนี้ ผมยังไม่ได้ซื้อมาเป็นเจ้าของครับ แต่ได้เคยลองฟังหลายทีแล้ว ที่ไม่ review ซะทีเพราะรู้สึกยังไม่มั่นใจครับ เนื่องจากแต่ละครั้งที่ได้ฟังใช้เวลาสั้นมากๆ สั้นจนเกินไป แถมในตอนนั้นผมยังไม่มีหูฟังระดับใกล้ๆกันเอาไว้เทียบด้วยครับ
พอดีครั้งนี้บังเอิญมี mini meeting ก็มาฟังแอมป์กันนั่นแหละครับ แต่ละคนก็อยากรู้ว่าแอมป์แต่ละตัวที่ผม review ไป เป็นยังไง ผมก็เลยจัดให้ครับ... จริงนัดฟังกันแค่ 2 คน แต่มีมาเพิ่มอีกคน เลยกลายเป็น 3 คน 3 หนุ่ม 3 มุมครับ พรั่งพร้อมด้วยยุทธโธปกรณ์พร้อมรบครบครัน จนมีคนเดินมาถามว่า

" พี่ๆ... รับโหลดเพลงใช่ป่าว.... "

เล่นเอางงไปทั้งวงเลยครับ พอบอกไปว่าไม่ใช่ พี่แกยังอุตส่าห์หันมาถามอีกว่า "แล้วมานั่งทำไรกัน"... แล้วจะให้ตอบยังไงเนี่ย... แบบนี้ก็มีด้วย

เข้าเรื่องครับ พอดีคนในวง metting จิ๋วนี้พกเอา HD650 มาด้วย ผมก็เลยบรรเลงเลยครับ นานๆจะหลุดมาให้ฟังซักที ใจจริงก็อยากหิ้วกลับบ้าน แต่เกรงใจแก กลัวแกไม่มีอะไรจะฟัง ครั้นจะเอา K701 เป็นตัวประกันใจมันก็หดหู่ เพราะเหมือนเอาคนรักไปค้ำประกันแลกทองคำ ก็เลยตัดสินใจฟังกันให้รู้เรื่องไปเลยตรงนั้น... ง่ายดี

สัมผัสแรกที่ได้รับรู้จากการหยิบ 650 คือ... เสียวครับ เสียวหล่น เพราะของมันแพง ดูเหมือนจะหนีบแต่ใส่สบายมากเลยครับ ใส่แล้วไม่รู้สึกอึดอัดหรือโดนหนีบแต่อย่างใด คุณภาพงานก็สุดยอดเลยครับ เนี้ยบแบบไม่ต้องพูดถึง ที่สำคัญ ผมชอบสายมันมากเลยครับ ถอดออกมาโมง่ายดี มิหน้า คนถึงนิยมโมสายมันเยอะ ถอดง่ายขนาดนี้นี่เอง 5555 ความรู้สึกช่วงที่ใส่นี่... มันโล่งครับ ด้วยความเป็นหูฟังแบบ Open Dynamic เวลาใส่ก็เลยให้ความรู้สึกเหมือนไม่ได้ใส่ ใครพูดอะไรมาเป็นได้ยินโม้ด... มัน open กว่า K701 อีกครับ ตัว K701 เองเวลาใส่ยังรู้สึกได้ยินเสียงเบาลงบ้าง แต่ HD650 นี่ ให้มาหมดทั้งใจ ทำให้เวลาทดสอบต้องเดินตะเวนหาที่เงียบๆเพื่อนั่งฟังครับ ไม่งั้นฟังไม่รู้เรื่องเลย.... แต่ก็ไม่วายครับ ไม่วายได้พานพบพี่เสก พี่บอยด์ สลับๆกันไประหว่างทดสอบฟังครับ แต่ ผมยินดีตัดสวิทซ์ชับ... เพื่อให้ตัวเองได้ยินแต่เสียงจาก Hd650 เท่านั้น

สิ่งที่จะได้จาก HD650 แต่ไม่ได้จาก K701 เลยคือ เบสที่เป็น deep เบสครับ ( เหมือนจะพิมพ์เรื่องนี้ไปทีแล้ว ) เบสที่ออกมาจาก Hd650 มันให้ความต่อเนื่องของเบสสูงมากครับ การที่เรียกมันว่า deepเบส เพราะจังหวะการไล่ของเบสนั้น เวลามีการเล่นเบสมันจะมีลูกส่งต่อเนื่องไปยังโน้ตเบสอีกตัวครับ... ถ้าให้นึกภาพออกง่ายๆคือ เวลามีเบสโซโล่เมื่อดีดโน้ตแรก พอเสียงเบสค่อยๆจาง ค่อยๆจาง มันจะไปทันเกาะเบสโน้ตตัวที่สองครับ ทำให้มันไล่สเกลเป็นเมโลดี้เบสต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่ง ถ้าเป็น K701 จังหวะการสั่นของเบสมันจะไม่ดันต่อเนื่องไปถึงโน้ตตัวที่สองครับ แค่โน้ตตัวแรกมันก็แทบจางหายไปหมดแล้ว ส่วนตัวผมชอบเบสทั้งคู่ครับ ถึงแม้ K701 จะให้เบสที่ไล่เป็นเมโลดี้ไม่ได้ แต่ก็ให้เบสที่นุ่มหูผมมากๆ... ตรงนี้ก็แล้วแต่คนชอบครับ 55555

มิติเสียงกลางของตัวนี้ให้มิติดีมากๆเลยครับ แยกกันเห็นๆเป็น 3 มิติเลยครับ เล่นเอามิติทะลุหลังหัวไปเลย ทีเด็ดของตัวนี้คงอยู่ที่มิติเสียงเบสครับ บางเพลงจะรู้สึกเห็นๆว่ามันสร้างออกมาชัดๆอยู่หลังหัวครับ ถ้านึกภาพตามจำเป็นเป็นเบสอยู่ตรงข้างหลัง ตรงกลาง เห็นภาพเป็นลูกเบสกระเพื่อมๆ เลยครับ ตรงนี้ที่ K701 ไม่มีครับ เพราะเบสของ 701 จะคงที่อยู่ตำแหน่งเดิมครับ แต่ก็แลกมาด้วยรายละเอียด detail ของเสียงกลาง และ soundstage ที่กว้างสุดแสนจะกว้าง แทนครับ ซึ่ง Hd650 ก็ให้ได้ไม่เท่าครับ เพราะยังคงเอกลักษณ์ของ Senheiser ไว้ครับ แกจะเน้นมิติเสียงกลางครับ แต่ไม่ได้ให้ soundstage กว้างๆ ตรงนี้ก็แล้วแต่คนชอบนะครับ

เสียงกลางของ 650 ไปจนถึง Vocal จะออกอิ่มๆ ครับ แต่ K701 เสียงกลางจะออกพริ้วๆครับ เรียกว่าคนละอารมณ์กันเลย มวลกลางของ HD650 จะหนากว่า อวบกว่า ซึ่งก็จะรวมไปถึงมวลของเบสด้วยครับ จุดเด่นที่น่าสนใจอีกอย่างของ HD650 คือเสียงกลองที่ลงกระแทกได้รุนแรงมาก ถ้าใครชอบสไตล์กลองที่โหดๆหน่อย น่าจะชอบมากๆ แต่ถึงแม้่จะตีได้แรงแต่ก็ยังรับรู้ถึงรายละเอียดของกลองได้เป็นอย่างดี การไล่ step ของกลองแต่ละลูกก็ให้โทนเสียงที่แตกต่างกันได้อย่างสมบูรณ์และน่าฟัง พูดกันตามตรงคือ กลองของ 650 จะ color เอามากๆ มากเกินความจริง โดยเฉพาะเสียงสแนร์ ที่มันหนักแน่นเกินกว่าจะเป็นสแนร์ธรรมได้ แต่ส่วนอื่นๆก็ถือว่าโอเคครับ

ความใสของตัวนี้อาจจะแพ้ K701 ครับ แต่ด้วยลักษณะของ tone บรรยากาศที่ออกทะมึนเล็กๆ ทั้งๆที่เนื้อเสียงก็ใสคมทีเดียวครับ แต่ detail และ ประกายเสียงยังสู้ K701 ไม่ได้ครับ ผมรู้สึกว่ารายละเอียดของเสียงกลาง K701 จะชัดและพริ้วกว่าครับ ในขณะที่ Hd650 จะออกอิ่มๆ นุ่มๆ เวลาเสียงเครื่องเป่าค่อยๆผ่อนออกมา มันจะละมุนละไมกว่า K701 เยอะครับ เรียกว่า ฟังแจ๊สเพลงเดียวกัน แต่ให้อารมณ์เพลงที่แตกต่างกันเลยครับ เสียงนักร้องของทาง Hd650 จะอิ่ม.. ฉ่ำ... ส่วนของ K701 จะใส... เป็นมิติ ลอยๆ พริ้วๆ...

สิ่งที่ Hd650 จะด้อยกว่า K701 ก็มี 2 เรื่องเดียวครับ คือ soundstage กับอารมณ์ความเป็น Dark ตามสไตล์ senheiser เพราะนอกนั้นก็จะเด่นไปอีกด้านนึงครับ จริงๆถ้าทำ soundstage ได้กว้างเท่า K701 ผมก็ไม่รอช้าที่จะซื้อ HD650 เช่นกันครับ แต่พอดี K701 ก็ให้เสียงในแบบที่ผมอยากได้ เพราะผมเดินมาทางนี้แล้วครับ เส้นทางของผู้ที่ครอบครอง EP880 , Super.Fi 5 Pro การได้ครอบครอง K701 เป็นสุดยอดของเจ้าแห่งทางสายนี้แล้วครับ หลุดจากนี้คงเป็น K1000 แล้วครับ 5555

SPEC
Nominal impedance : 300 Ohm
Contact pressure : ca. 2,5 N
Weight w/o cable : ca. 260g
Jack plug : 6,3/3,5 mm stereo
Transducer principle (Headphones) : open, dynamic
Ear coupling : circumaural
Cable length : 3 m
Frequency response (headphones) : 10.....39500 Hz
Sound pressure level (SPL) : 103 dB (1 Vrms)
THD, total harmonic distortion : 0,05 %

Review Audio-Technica AD2000


Audio-Technica AD2000


http://www.productwiki.com/upload/images/audio_technica_ath_ad2000.jpg
ถ้าใครเคยตามอ่านข้อมูลหูฟังตามบอร์ดต่างประเทศบ่อยๆจะค่อนข้างคุ้นตากับชื่อ Audio-Technica ครับ ครั้งแรกที่ผมได้ยินผมยังนึกว่าเป็นยี่ห้อหูฟังจากทางอเมริกาซะอีก แต่ในความเป็นจริงแล้ว Audio-Technica เป็นผู้ผลิตหูฟังชื่อดังจากทางฝั่งประเทศญี่ปุ่นครับ

จริงๆในบ้านเราก็มีตัวแทนจำหน่ายรับเข้ามาขายอยู่ แต่เหมือนจะไม่ค่อยทำตลาดให้เท่าไหร่ ทำให้ชื่อเสียงของ Audio-Technica ไม่ค่อยโด่งดังในหมู่คนไทยเท่าไหร่ ผมเชื่อว่ายังมีคนอีกหลายๆคนที่ไม่รู้จักชื่อนี้ และมีอีกหลายๆคนที่ไม่เคยฟังเสียงจากหูฟังยี่ห้อนี้ ทั้งๆที่เป็นหูฟังที่โด่งดังมากๆในอเมริกาทีเดียวครับ เทียบชั้นได้กับ Sennheiser , Sony และ Grado เลยทีเดียว

หูฟังที่เด่นๆทางค่ายนี้ก็จะมี
- ATH-W series ที่มีตั้งแต่ W1000 ,W3000, W5000 ( W มาจากคำว่า Wood )
- ATH-A series ซึ่งจะเด่นเฉพาะ A900 , A900LTD , A950LTD ( LTD มาจาก Limited )
- ATH-AD series ที่มีตัวเด่นดังตัวเดียวคือ AD2000
- ATH-L Series มีรุ่นเดียวคือ ATH-L3000 ที่ถือเป็น Flagship ของทางค่ายและมีเพียง 500 ตัวทั่วโลก
และวันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของ AD2000 ครับ

ATH AD2000 นั้นเป็น series เดียวของ Audio-Technica ที่เป็นแบบ Open Dynamic ในขณะที่ตัวอื่นๆล้วนเป็น Close Type แทบทั้งสิ้น และอันที่จริงแล้วหูฟังแบบ Close Type ของ Audio-Technica จะค่อนข้างมีชื่อเสียงกว่าทาง Open ด้วยซ้ำ เพราะเป็น Close Type ที่ให้ความรู้สึกโปร่งไม่เหมือนใคร ในขณะที่ยี่ห้ออื่นที่เป็น Close Type จะให้เสียงที่ออกอับๆเป็นส่วนใหญ่ แต่เสียงที่ได้จากหูฟังแบบ Open ของ Audio-Technica เองก็ใช่ว่าจะด้อยกว่า Close Type แถมยังให้เสียงที่ดีจนหาตัวจับได้ยากทีเดียว

วัสดุภายนอกของหูฟังค่อนข้างทำได้ประณีตมากๆทีเดียว เพียงแต่รูปลักษณ์จะดูแปลกตาไปซักหน่อย ถ้าใครมองไกลๆจะนึกว่าเราเอาพัดลมมาประกบหูเราอยู่ แต่เพราะ Design แบบนี้เองที่ทำให้ได้เสียงที่โปร่งและสามารถรู้สึกได้ถึง Airy หรือมวลอากาศที่รอดไหลผ่านในแต่ละชิ้นดนตรี

ขนาด image ของทั้งเสียงร้องและชิ้นดนตรีค่อนข้างใหญ่เอามากๆเมื่อเทียบกับหูฟังรุ่นราวคราวเดียวกันอย่าง ATH-A series และ AKG K701 ซึ่งถึงจะใหญ่ขนาดไหนก็ไม่รู้สึกว่าอึดอัดและน่ารำคาญแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับ Ergo2 ที่ผมเคยฟัง ทางนั้นให้ขนาด image ที่ใหญ่จริง แต่ว่า soundstage และมิติเสียงกลางแย่มากๆ ทำให้ดูแบนไปหมด ฟังแล้วน่าอึดอัด แต่ของ AD2000 ให้มิติเสียงที่ดีเอามากๆครับ ถึงแม้ว่า soundstage จะไม่ได้กว้างมากมายเท่าพวก AKG K701 หรือ A950LTD แต่การแบ่งแยกชิ้นดนตรีกลับทำได้ดีเอามากๆ ตำแหน่งแต่ละชิ้นมีความชัดเจนและแบ่งแยกกันเป็นระยะห่างออกไปได้ดี บางเพลงที่อัดมาดีๆจะรู้สึกถึงความเป็น 3 มิติด้วยซ้ำครับ Headstage ของ AD2000 ก็ทำได้ดีเอามากๆครับ เรียกว่าพุ่งขึ้นไปสูงทีเดียว บางคนอาจจะรู้สึกว่ามันไม่ได้สูงมาก นั่นเพราะมีขนาดของเสียงร้องใหญ่ๆที่แผ่ออกมาขวางทำให้รู้สึกว่ามันไม่ได้ลึกมาก แต่ถ้าได้เจออัลบั้มที่อัดมาดีๆจะรู้สึกเลยครับว่า มันลึกขึ้นจริงๆ ทำให้การรับรู้ image ของแต่ละชิ้นมันเด่นชัดขึ้นมามากๆครับ

เสียงกลองของ AD2000 นี่เหนือกว่า A950LTD ที่ผมชอบนักชอบหนาอีกครับ ทั้งการลงน้ำหนักและการให้รายละเอียดของเสียงกลอง ทุกอย่างทำได้ดีกว่าทั้งหมด ที่สำคัญคือ เสียงแฉกับไฮแฮ็ทให้ความชัดเจนและเป็นธรรมชาติมากครับ สามารถสัมผัสถึงน้ำหนักของไม้ที่ตีลงบนแฉได้เลยครับ จะหนักจะเบาหรือสัมผัสปลายแฉเบาๆก็ได้ยินได้ครบทั้งหมด ในขณะที่ของ 950LTD ยังให้ได้ไม่เท่านี้ กระทั่งรายละเอียดที่ลงบนเส้นสายกีต้าร์ก็เก็บได้หมดทุกเส้น จังหวะการลง จังหวะการเกา จังหวะสไลด์ สามารถรับรู้และได้ยินอย่างชัดเจนครับ

เรื่อง Detail ก็ไม่ต้องห่วงครับ เก็บรายละเอียดได้แทบครบทุกเม็ดทีเดียว ซึ่งการที่ Full Range ให้รายละเอียดได้ขนาดนี้โดยไม่รู้สึกว่าเสียงสูงแห้งหรือแบนแบบ AKG K701 โดยเฉพาะส่วนของเสียงสูงนั้นที่แจกแจง Detail ได้ครบเกือบหมด ยกเว้นบางจุดที่ยังถ่ายทอดได้ไม่ดีเท่ากับพวกที่แยก Tweeter ออกมาชัดเจนอย่าง Triple.fi เพราะยังไงก็ถือเป็นจุดอ่อนของ Driver แบบ Full Range อยู่แล้ว ซึ่งถ้าจะจูนให้ได้ Detail เหมือน Triple.fi 10 pro ก็คงทำได้ไม่ยากครับ แต่จะทำให้ Balance ของเสียงโดยรวมมันเพี้ยนไป กลายเป็นแสบแก้วหูอย่างเดียวเลย

เสียงร้องก็มีความชัดเจนเอามากๆ ถึงแม้ image เสียงร้องจะดูใหญ่ แต่ก็ไม่ได้แห้งบางแต่อย่างใด เป็นเสียงร้องที่มีน้ำมีนวลและคมชัด แถมเพลงร้องคู่หรือที่มีคอรัสขึ้นมาพร้อมๆกัน ยังสามารถแยกออกมาได้ขาดจากกันเลยทีเดียวครับ ถึงแม้ว่าจะไม่มีมวลเท่ากับ Sennheiser HD650 ก็ตาม แต่น้ำหนักของเสียงร้องก็ไม่ได้ขี้เหร่แต่อย่างใด เพราะมีทั้งความชัดเจนและมีความเป็นมิติที่คล้ายๆกับของทาง K701 เลยทีเดียว แต่ก็ยังสู้ K701 ไม่ได้ในแง่ของเสียงร้องที่ K701 ให้ความเป็น 3 มิติที่เหนือกว่า

เบสของ AD2000 นั้น ให้มวลเบสที่ดี มีทั้ง Impact , Middle และ Deep ครบเครื่อง ถึงแม้ว่า Deep เบสจะยังสู้ A950Ltd ไม่ได้ แต่ Impact และ Middle เบสก็ยังดีกว่าอยู่ครับ เห็นใน Head-fi บอกว่าบวม แต่ผมไม่รู้สึกว่ามันบวมนะครับ เพียงแต่รูปร่างของ image เบส ยังไม่ค่อยดีแค่นั้นเอง ถ้า image เบสออกมาเป็น 3 มิติเหมือน UE11 Pro ได้ จะยิ่งแจ๋วเลยครับ

โดยรวมถือว่าเป็นหูฟังที่ให้เสียงยอดเยี่ยมและครบเครื่อง เป็นส่วนผสมกลมกลืนระหว่างความเป็น Studio และความเป็น Audiophile เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถที่จะหยิบเอามาฟังได้แทบทุกแนวเลยทีเดียว แถมยังขับง่าย ลำพังต่อกับ iPOD ตรงๆก็ให้รายละเอียดได้แทบหมดทุกหยดแล้วครับ การใช้แอมป์ช่วยแม้จะไม่มีผลต่อ Dynamic มากมายนัก แต่ถ้าได้แอมป์ที่ช่วยเพิ่มมิติและ soundstage พร้อมทั้งกระชับ image ได้ ก็จะยิ่งเสริมให้หูฟังตัวนี้ไปได้ไกลมากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบใช้แอมป์แต่อยากได้ Full-size ดีๆซักตัวไว้ใช้ ตัวผมเองเวลาใช้บางทีก็ไม่ต่อกับแอมป์เหมือนกันครับ เป็น Full-size 1 ในไม่กี่ตัวที่ผมอยากจะยกให้มันเป็นสุดยอดในเรื่องของเสียงและความสะดวกในการใช้งานที่สุดทีเดียวครับ
สนใจก็ลองไปหาฟังกันดูแล้วกันครับ


http://www.phileweb.com/news/photo/200808/ss08_010_ATH-AD2000_big.jpg

SPEC

Type: Open-Air Dynamic 
Driver Unit: 53mm, OFC-7N bobbin winding voice coil 
Magnet: Neodymium 
Frequency response: 5 - 45,000Hz 
Impedance: 40 ohms 
Max. Input Power: 1000mW 
Output overpressure value: 102dB/mW (JEITA) 
Plug: Mini/Standard Gold plated 2 Way 
Cord length: Elastomer/OFC-6N+OFC/3.0m 
Net weight (without cord): 250g

เขียนโดย G7
http://g7-g7.blogspot.com/2008/12/review-audio-technica-ad2000.html

Review KOSS KSC75


KOSS KSC75


KOSS เป็นผู้ผลิตหูฟังที่อยู่ในตลาดมาแสนยาวนาน โดยที่มี Product เด่นๆที่คนไทยที่เล่นหูฟังมาพักใหญ่ๆจะรู้จักกันดีอย่าง KSC35 ที่อยู่คู่ตลาดมานานแสนนาน โดยมี KSc75 ตามมาในภายหลัง ซึ่งทาง KOSS หมายมั่นปั้นมือว่า KSC75 จะมาเป็นตัวแทนของ KSC35 แต่ คนก็ยังให้การยอมรับตัว KSC35 มากกว่าอยู่ดี ทา่ง KOSS เลยเลิกผลิต KSC35 ไม่ได้ ทั้งๆที่ประกาศไปแล้วว่าจะยุติไลน์ผลิต แต่ก็ต้องหวนกลับมาผลิตเหมือนเดิม เพราะคนเรียกร้องเยอะ


มาว่ากันที่ตัว KSC75 ดีกว่าครับ


งานประกอบ KSC75 จัดอยู่ในระดับธรรมดา งาน Design จะดูเหมือนของเล่นนิดหน่อย อาจจะไม่เหมือนทาง Sony ที่มี Designer เก่งๆอยู่ในมือหลายคน ทาง Koss เลยจะดูออกธรรมดาไปนิด ทั้งๆที่ตัว KSC50 ทำออกมาได้ดูดีมาก แต่ก็สู้ตัว KSC75 ไม่ได้ในแง่ยอดขาย ทาง KOSS เลยปล่อย Design ให้เป็นแบบนี้ต่อไป

วัสดุที่นำมาใช้กับ KSC75 เป็นพลาสติกสีบรอนซ์เงินธรรมดา แต่มีก้านที่เป็นเหล็กหุ้มพลาสติกมาให้ ซึ่งแตกต่างจาก KSC35 ที่เป็นพลาสติกล้วนๆ แถมตัวก้านเกี่ยวหูก็ยังสามารถถอดได้ เอาไปเปลี่ยนกับ KSC35 ก็ยังไหว แต่ถ้าถอดเข้าออกบ่อยๆมันจะหลวม ดังนั้น ไม่แนะนำให้ถอดถ้าไม่จำเป็นครับ ส่วนตัวสายก็เป็นสายธรรมดา สายเป็นแบบยางนิ่มซึ่งก็ทนทานในระดับนึงครับ ยังไม่พบว่ามีคนใช้แล้วสายมันจะเปื่อยแตก ส่วนมากจะขาดเพราะความผิดพลาดจากคนใช้มากกว่า ตัวแจ๊คเองก็เป็นแจ๊คเคลือบทองแบบธรรมดา ก็ถือว่าสมกับราคาค่าตัวครับ

มาว่ากันที่เรื่องเสียง

เรื่องเสียงตัวนี้ ออกโทนใสครับ แนวเสียงจะไปทางพวก EP880 , ER6i ประมาณพวกนั้นน่ะครับ เสียงเบสจะออก impact ไม่เยอะ จะเน้นที่เนื้อเบสมากกว่า ก็เยอะกว่า EP880 แหละครับ ฟังเพลงเบาๆสบายๆสไตล์ Accoustic ล่ะ work เลยครับ

Sondstage และมิติเสียงกลางถือว่าทำได้ดีมากๆครับ เป็นหูฟังที่ให้ความโปร่งได้ดีอีกตัวนึง เวลาใส่ฟังจะรู้สึกเหมือนกับมิติมันดีดลอยตัวออกจากหัวครับ ทำให้การแยกตำแหน่งของชิ้นดนตรีต่างๆทำได้ชัดเจนดีครับ แต่ก็ยังแยกชิ้นดนตรีได้ไม่ดีเท่าไหร่ ถ้าเจอเพลงที่ sound มาหนักๆ เร็วๆ ก็มีการอาการกลืนกันพอสมควรครับ ถ้าฟังเพลงช้าๆ ทีมีเครื่องดนตรีน้อยชิ้น หรือเพลงป๊อปทั่วๆไปก็ฟังได้สบายๆครับ

การ Focus image ของชิ้่นดนตรีแต่ละชิ้นทำได้ค่อนข้างดีมากๆครับ ชิ้นดนตรีมีขนาดที่กำลังดี ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป และมีขนาดของ image ที่ Balance ใกล้เคียงกัน ทั้ง Vocal และ Instrumental ไม่มีใครเด่นล้ำหน้าเกินกัน แถมยังให้มิติเสียงกลางที่กำลังดี มีความเป็น 3 มิติอีกด้วยครับ

เสียงสูงของ KSC75 ค่อนข้างชัดและใส ไม่มีเสียงเสียดหรือบาดหูให้น่ารำคาญ แต่เสียงสูงยังให้ความรู้สึกที่แบนและออกสากๆหน่อย เป็นเสียงสูงที่ถูกจูนให้จัดจ้านขึ้นจาก KSC35 เล็กน้อย สังเกตได้จากเสียงที่ตีไฮแฮท และแฉ ที่ให้ความรู้สีกไม่เหมือนกำลังตีบนฉาบทองเหลือง จะออกไปทางตีฉาบที่ัเป็นสังกะสีหน่อยๆแทน เสียงเลยจะไม่ค่อยกังวาลใสในแบบของจริง แต่จะออกไปทางใสติด color หน่อยๆ แต่ด้วยระดับราคาของมัน ผมไม่ซีเรียสเรื่องนี้มากมายครับ

เบสของ KSc75 ไม่ถึงกับแน่นมากมายครับ impact ของเบสไม่เยอะมากก็จริง แต่ก็มี middle ให้ไลน์เบสออกมาได้ชัดเจน แม้จะไม่ถึงกับเยอะแยะเท่ากับที่ KSC35 ทำไว้ แต่ก็ทำได้ในระดับน่าพอใจ ไม่ได้มีน้อยจนรู้สึกไม่ได้ แต่มีในระดับกำลังเหมาะ เบสค่อนข้างเกาะตัวกันได้ดีและมี shape ที่เด่นชัด แต่ด้วยความที่ middle ไม่ได้แน่นมากนัก อยู่ในระดับเพียงแค่แน่นปานกลาง ทำให้เบสยังมีความกลวงบ้างเล็กน้อย น้ำหนักของเบสอยู่ในระดับปานกลางครับ ไม่มาก และน้อยเกินไป แถมยังมี deep ติดปลายให้ได้ชื่นใจอีกเล็กน้อยด้วย

เสียงกลางของ KSC75 ค่อนข้างเด่นชัด ตัวน้ำหนักของกลองทำได้ค่อนข้างดี แม้จะลงได้ไม่รุนแรงเท่ากับหูฟังบางตัว แต่ก็กระแทกกระทั้นได้พอสมควร ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเพลงด้วยนะครับ บางเพลงที่อัดกลองไว้ไกลๆหน่อย น้ำหนักของกลองก็จะลดลง แต่ถ้าอัดมาใกล้ๆ น้ำหนักกลองก็จะหนักหน่วงมากขึ้น เหตุเพราะ Dynamic ของ KSc75 จะเด่นเฉพาะช่วงที่อยู่บริเวณใกล้ๆหัวเราครับ ถ้าชิ้นไหนลอยห่างออกไปหน่อย ตัว Driver จะถ่ายทอด dynamic ได้ไม่ดี เป็นข้อเสียเรื่อง Balance ของเสียงที่ถ่ายทอดได้ไม่เท่ากันทั่วทั้งหมด ซึ่งอาการนี้ผมก็เจอให้ Philips HP895 ที่มีอาการคล้ายๆกันครับ จำเป็นต้องอัด power หรือ เร่ง volume เข้าไปอีก อาการถึงจะหายครับ แต่มิติก็จะลดลงมาเช่นกัน ดังนั้นถ้าใครฟังเพลงเบาๆ ก็จะได้กลองเบาๆเป็นของตอบแทนครับ

เสียง Vocal ของตัวนี้จะค่อนข้างชัดเจน มีการ Focus เสียงร้องที่ดี เสียง Vocal ค่อนข้างลอยเด่น และไม่ปนหรือกลืนไปกับชิ้นดนตรีอื่นๆ ให้่ความเป็นมิติที่ดีแม้จะไม่เท่าของแพงๆ แต่ก็อยู่ในระดับที่โอเค ไม่ได้แบนเหมือนหูฟังบางตัว แต่ก็ยังติดปลายเสียงสูงที่ออกหยาบๆมาบ้าง ข้อดีคือเสียงร้องฟังแล้วไม่เสียดหู และไม่จัดจ้านมาก แถมยังเก็บ Detail ได้ดีในระดับนึงเลยทีเดียว ข้อเสียคือมวลน้อยไปหน่อย

โดยรวมถือเป็นหูฟังแบบ earbud ในระดับล่างที่น่าใช้อีกตัวนึง ผมเคยอ่านใน head-fi เค้าบอกไว้ว่า ถ้าเอาตัว KSC75 ไปต่อกับเครื่องเสียงบ้าน จะให้เสียงที่สุดยอด ซึ่ง ผมก็ลองแล้ว แต่ก็ไม่ได้ีูรู้สึกว่าสุดยอดอย่างที่เค้าบอก คิดว่าน่าจะเกิดจาก Matching System ครับ คือ หูฟังผม ไม่ Match กับ system ของผม ทำให้ได้คุณภาพเสียงไม่เท่าที่เค้าโม้ ผมคิดว่าตัว KSC75 น่าจะต้องหาแอมป์แบบ Voyager ที่ช่วยลบรอยหยาบให้มันมีความกลมมลน่าฟังขึ้น ถึงจะดีครับ พอดี Voyager คืนเค้าไปแล้วเลยไม่ได้ทดลอง เสียดายเหมือนกัน สำหรับหูฟังที่ให้เสียงเกือบครบเครื่องในระดับราคาไม่สูงมาก ทั้งยังโปร่ง ฟังง่าย แต่ใหม่ๆอาจจะใส่ลำบากนิดนึง ก็ถือว่าคุ้มค่าใช้ได้ทีเดียวครับ


SPEC 

SPECIFICATIONS
- Frequency Responses : 15-25,000 Hz
- Impedance : 60 ohms
- Sensitivity : 101 dB SPL/1mW
- Distortion : <0.2%
- Cord length : 4ft

Review KOSS KSC35


KOSS KSC35



KOSS KSC35 เป็นอีกหนึ่งในตำนานของหูฟังแบบ Clip-ear ที่เป็นที่กล่าวขวัญตั้งแต่ใน head-fi จนมาถึงเมืองไทย และเป็นรุ่นอมตะรุ่นนึงที่ทาง KOSS ต้องผลิตออกมาขายเรื่อยๆ เพราะแฟนๆเรียกร้องอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในเมืองไทยก็เกิดอาการ Fever อยู่พักใหญ่ๆเลยทีเดียว ตั้งแต่สมัยของมีในตลาดใหม่ๆ จนถึงช่วงที่ของขาดตลาด ความต้องการของ KSC35 ถึงขนาดที่ว่า ใครลงมาขายปุ๊บ เป็นอันขายออกปั๊บ โดยไม่มีการต่อราคา แถมบางคนยังจะให้ราคาแพงกว่าที่เจ้าของตั้งเอาไว้ด้วยซ้ำ

ปััจจุบันสถานการณ์ Fever ก็ลดลงมาอยู่ในระดับปรกติแล้ว เพราะทาง KOSS ก็ได้ผลิตออกมาขายเหมือนเดิม แม้ว่าจะยังเป็นสินค้าที่ขายเฉพาะการสั่งซื้อผ่าน internet และขายเฉพาะใน USA ก็ตาม แต่ทางไทยก็มีคนนำเข้ามาขายให้หลายๆคนได้สัมผัสกันอย่างชื่นใจ

มาดูกันที่งานภายนอก

วัสดุที่ใช้ืำทำ KSC35 เป็นเพลาสติกสีดำธรรมดา แต่ค่อนข้างเหนียวและดูแข็งแรง ช่วงข้อต่อถ้าไม่ดึงเข้าดึงออกมาก ก็ไม่ค่อยจะมีปัญหาเรื่องหลวมหรือพังครับ ตัวสายเป็นสายธรรมดาแบบ KSC75 รวมไปถึงส่วนของ JACK ที่เหมือนกันทุกประการ จุดแตกต่างของคู่นี้ก็คืองาน Design และเรื่องของเสียง ซึ่งตัวงาน Design ของ KSC35 เป็นในรูปลักษณ์แบบดั้งเดิมเหมือนสมัยที่ผลิตใหม่ๆไม่มีผิด สาเหตุที่คง Design เดิมๆไว้ เพราะการเอา Driver ของ KSC35 ไปพัฒนารูปแบบใหม่แล้วออกมาเป็น KSC50 กลับกลายเป็นทำให้คุณภาพเสียงเปลี่ยนไปจา่กเดิม แถมลูกค้าที่ซื้อไปกลับนิยมชมชอบความเป็น KSC35 มากกว่า ดังนั้น ทาง Koss จึงต้องคงรูปลักษณ์เดิมๆไว้ อันนี้แล้วแต่ความชอบครับ บ้างก็ว่าขี้เหร่ ใส่แล้วอายเึค้า แต่บางคนก็บอกว่ามันดู Classic ดี เอาไปว่าเวลาใส่แล้วใครมาถามว่า หูอะไรทำไมขี้เหร่ ก็บอกเค้าไปแล้วกันครับว่า..

"มัน ARTTTTT..... ออก.."

มาว่ากันเรื่องเสียงครับ

สิ่งแรกที่ควรพูดถึงก็คือเบส เพราะ KSC35 ให้เบสที่เหนือกว่า KSC75 แบบเห็นได้ชัด แม้คุณภาพเบสของรุ่นใหม่ๆที่ผมได้ลอง จะสู้รุ่นที่ผมเคย test เมื่อในอดีตไม่ได้ แต่ตัวนี้กลับให้ความรู้สึกของน้ำหนักเบสได้ดีกว่า จริงๆแล้วบางเพลงอาจจะรู้สึกว่าเบสของ KSC35 กับ KSC75 ไม่หนีกันเท่าไหร่ แต่ในบางเพลง KSC35 กลับทำได้ดีกว่า ส่วนนึงผมคิดว่าน่าจะเกิดจาก Sensitivity ย่านเสียงต่ำของ KSC35 ตอบสนองได้ดีกว่า KSC75 ทำให้เพลงบางเพลงที่อัดเบสมาไม่เยอะมาก ตัว KSC35 ก็ถ่ายทอดออกมาได้เต็มๆ

สไตล์เบสของ KSC35 ก็เป็นเบสแบบที่เรียกกันว่า "เป็นลูกๆ" นั่นแหละครับ เพียงแต่ไม่ใช่ลูกที่มีคุณภาพเด่นชัดเหมือนที่จะได้พบในหูฟังระดับแพงๆ แต่ในระดับราคาไม่ถึง 2 พัน ก็ถือเป็นเบสที่มีคุณภาพใช้ได้แล้ว เบสจะค่อนข้างเด่นกว่า KSC75 ตรงที่มีตัวโน้ต หรือ Impact เบสที่ดีกว่า ทำให้ Balance ของ Middle เบสไปกันได้ดีกับ Upper เบส และให้เนื้อเบสที่ค่อนข้างดี มีความแน่น แม้จะมีช่วง middle จะไม่ได้มีการถ่ายน้ำหนักจากแน่นไปเบาได้อย่างไหลลื่น แต่ก็ให้ความชัดเจนและรับรู้ถึงน้ำหนักได้ดี ที่สำคัญมี Deep เบสให้ปิดท้ายอีกด้วย แม้ได้บางเพลงจะโดน Middle กลืนไปนิดบ้างก็ตา่ม แต่โดยทั่วๆไปก็ให้ส่วนของคุณภาพ Deep เบสที่ดีครับ มวลเบสก็อยู่ในระดับกำลังพอดี ไม่บวมเลอะเทอะเหมือนหูฟังบางตัว

เสียง Vocal มีความเด่นและชัดเจน เสียงอาจจะไม่จัดจ้านเท่ากับทาง KSC75 เพราะตัว KSC35 จะให้ความรู้สึกของมวลเสียงร้องได้ดีกว่า แต่การ Focus ก็ยังชัดเจนสู้ของ KSC75 ไม่ได้ เหตุผลเพราะ image ในส่วนของ Vocal หรือตัวนักร้อง จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าของทาง KSC75 ทำให้จุดเด่นของ KSC35 เลยไปตกอยู่ที่การฟังเพลงทั่วๆไป ไม่ได้เน้นเพลงเด่นเสียงร้องประเภทแบบ Susan Wong หรือ Emi Fujita ดังนั้น ทั้งคู่จะมีแนวทางของการฟังเพลงไปในคนละแนว

เสียงสูงจะค่อนข้างออกไปทาง KSC75 มากๆ แต่ความสากและความจัดจ้านจะน้อยกว่า KSC75 แต่เสียงเครื่องดนตรีตระกูล Crumble ทั้งหลาย ก็ยังคงกลายสภาพเป็นแผ่นสังกะสีเหมือนเ้ดิม แต่เห็นผมบอกอย่างนี้ไม่ใช่ว่าเสียงตีมันจะก๊องแก๊งนะครับ คือ มันชัด ใส และ Focus ได้ดีั เพียงแต่ signature ของมัน จะออกไปทางหยาบๆหน่อย แต่ก็ไม่ได้แตกพร่า หรือมีขอบเสียงสูงแบบจัดๆคมๆให้ได้บาดหูกัน โชคดีที่มันยังมีความพริ้วอยู่บ้าง ทำให้ปลายเสียงสูงไม่ห้วนและยังทอดตัวได้ดีอยู่ โดยรวมต้องถือว่ามันทำได้ดีในระดับราคานะครับ เพราะการแยกเสียงสูงทำได้ชัดเจนทีเดียว เพียงแต่การให้รายละเอียดยังทำได้ไม่ดีเท่าไหร่ ซึ่งก็ตามราคา ตามคุณภาพวัสดุที่ใช้ทำ driver แหละครับ

เรื่องมิติเสียงกลางและ soundstage จะแตกต่างจากของ KSC75 นิดหน่อย คือ ตัว KSC75 จะให้ความรู้สึกถึงด้านลึกของมิติเสียงกลางที่ดีกว่า ในขณะที่ KSC35 จะมี soundstage ที่กว้างกว่า สังเกตได้ง่ายชัดๆคือ เครื่องดนตรีชิ้นเดียวกัน โดยเฉพาะที่อยู่ด้านข้างซ้าย หรือ ด้านขวา แล้วอยู่ตำแหน่งๆไกลๆช่วยปลายๆของ soundstage ถ้าเป็นของ KSC75 จะถูกยกสูงขึ้นกว่า KSC35 step นึง และดึงระยะเข้ามาใกล้กว่าของ KSC35 ในขณะที่ KSC35 จะห่างไปได้ดีกว่า แต่ระนาบก็จะอยู่ระดับเดียวกับหูของเรามากกว่า และด้วย Vocal ที่มีขนาด image ที่ใหญ่ ทำให้ KSC35 ให้ความรู้เหมือนมิติเสียงกลางจะด้อยกว่า KSC75 หน่อยๆ ก็ต้องแรกมวยกันนิดนึงละครับ อยากได้เบส soundstage ก็ KSC35 อยากได้มิติเสียงกลาง Vocal ชัดๆ ก็ต้องเลือก KSC75

สรุปโดยรวมแล้ว ถือเป็น Clip-ear ที่น่าใช้อีกรุ่นนึง ความจริงผมก็วิจารณ์โหดไปหน่อย ซึ่งถ้ามาพูดถึงราคาค่าตัวของมัน ก็ถือว่ามันทำได้ดีมากๆแล้วนะครับ ลำพัง Full-size ที่ราคาอยู่ในระดับนี้ ผมยังไม่มั่นใจเลยว่าจะมีตัวไหนให้เสียงได้ในแบบ KSC35 ได้บ้าง ( ไม่นับ Portapro กับ Sportapro นะครับ เพราะมัน Driver เดียวกัน ) ที่สำคัญ ตัว KSC35 ถ้าได้แอมป์ดีๆอย่าง Voyager มาประกบ มันจะกลายเป็นหูฟังที่ดีมากๆทีเดียวครับ

นิดนึงนะครับ เห็นว่าสมัยก่อน KSC35 มันประกัน Lifetime Warranty ไม่รู้เดี๋ยวนี้ยังเป็นอยู่แบบนั้นหรือเปล่า คือ Lifetime Warranty ของ KSC35 ไม่ได้เหมือน lifetime Warranty ของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆนะครับ ที่มักจะโม้ว่า Lifetime แต่พอถามจริงๆดันบอกว่า เป็น lifetime ของเครื่อง ซึ่งเค้าก็กำหนดเอาเองว่า 2 ปี หรือพูดง่ายๆคือประกัน 2 ปี แต่บอกว่า lifetime ให้มันดูหรู...

แต่ของ KSC35 คือ Lifetime Wattanty จริงๆ เป็น lifetime ที่เรียกว่า ตลอดชีวิต ของคนที่ซื้อมันใช้นั่นแหละครับ เปลี่ยนกันจนกว่าจะเลิกผลิตกันอีกรอบนึง ดังนั้น มันจึงเป็นหูฟังที่ประกันสุดยอดที่สุดแล้วครับ เพียงแ่ต่ไม่รู้เดี๋ยวนี้นโยบายเปลี่ยนหรือเปล่า ถ้าเปลี่ยนก็น่าเสียดายครับ...

แล้วก็ KSC35 มีแบบปลอมระบาดเหมือนกันนะครับ ในไทยเองผมยังไม่เคยเห็นแบบจริงๆจังๆ ( ไม่มั่นใจตัวที่เคยเจอในอดีตจะเป็นของปลอมหรือเปล่า ) ถ้าจะซื้อก็ดูดีๆแล้วกันครับ เพราะของปลอมทาง KOSS ไม่รับประักันครับ ผมมีรูปให้ดูเทียบงานของ copy กับของแท้ด้วยครับ




- อันบนของแท้นะครับ อันล่างของปลอมครับ -

SPEC 

Frequency Response : 15-25,000 Hz
Impedance : 60 ohms
Sensitivity : 101 dB SPL/1mW
Distortion : <0.2%
Cord : Straight, Dual Entry, 4ft

Review หูฟัง Sony MDR-E888


SONY MDR-E888

ความจริงแล้ว ตัว E888 นี่ ผมได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับตัวมันมานานแสนนานแล้ว แต่ ด้วยความที่ผมไม่ชอบหูฟังของ sony ทำให้ผมไม่เชื่อใน review ที่ฝรั่งพล่ามบอก เพราะฝรั่งบางคนมันก็เชื่อไม่ได้ครับ ฝรั่งมันก็คนเหมือนเรานั่นแหละครับ แกก็ไม่ได้เก่งฉลาดล้ำเลอเลิศทุกคนหรอก ก็เหมือนคนไทยเรานี่แหละ ไม่งั้นบางคนแกคงไม่บอกว่า หูฟังสุดยอดในชีวิตแก ไม่มีอะไรเทียบรัศมีได้ เป็น B&O A8 หรอกครับ... -_-'a จนฝรั่งคนอื่นๆต้องพากันประนาม


มาว่ากันที่ E888 ต่อครับ คือ เท่าที่ผมได้ลองอ่านใน head-fi หลายๆครั้ง ก็พบว่า หลายๆคนต่างพากันชื่นชม E888 กันอย่างมาก ทำให้ผมสงสัยว่า มันจะดีขนาดนั้นเลยหรือ เพราะขึ้นชื่อว่า Sony ไม่น่าจะทำอะไรให้ดีได้ เท่าที่ได้คุยๆกับหลายๆคน เค้าก็ว่าดีกัน ผมก็เลยพยายามเสาะแสวงหาเพื่อจะนำมาลอง ปรากฏว่า หาเท่าไหร่ก็หาไม่ได้ครับ เพราะมันไม่มีวางขายทั่วๆไปแล้ว แถมคนที่มีก็ไม่ปล่อยกันง่ายๆด้วย ทำเอาผมจนใจเลย ไม่มีเพื่อนไปญี่ปุ่นให้ฝากซื้อซะด้วยสิ...

จนมาวันนี้ครับ ผม search หาเล่นๆ ก็พบว่ามีท่านนึงปล่อยครับ เท่าที่คุยท่านนั้นก็บอกว่า เพิ่งจะซื้อมาได้ 2 อาทิตย์ ผมก็เลยสนใจ และติดต่อขอซื้อไปอย่างเร่งด่วน จนตอนนี้ผมก็ได้มันมาครอบครองอย่างสมใจ




แน่นอนผมไม่เชื่อว่า sony จะทำของดีๆเป็น ผมเลยบรรจงเสียบหูฟังช้าๆเข้าที่ใบหูทีละข้าง จากนั้นก็เปิดออร์เดิร์ฟด้วย "Tiger in the rain" ของ Michael Franks....... พอ intro ขึ้นซักพัก ผมก็ต้องตกใจ !! เฮ้ย !! soundstage กับ มิติเสียงมันได้ขนาดนี้เลยเหรอ ! ทั้งโปร่ง ทั้งกว้าง ผมว่า soundstage กว้างพอๆกับ หรืออาจจะดีกว่า KSc35 ด้วยซ้ำ แต่ที่แน่ๆ มิติเสียงดีกว่ากันเยอะครับ เพราะ E888 มีเสียงอ้อมไปด้านหลังด้วย ! เห็นชัดๆเลยว่าเสียง vocal ลอยเด่นแยกออกไปเป็นเอกเทศอย่างชัดเจน เสียงเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆก็ลอยเด่นแยกตำแหน่งกันออกไป..


ที่อึ้งอีกอย่างคือเบสครับ มันปล่อยออกมาได้ smooth มาก ใกล้ๆ K701 เลย ( แต่ 701 smooth กว่าเยอะ เสียตรงเบสมันก็น้อยกว่าด้วย ) เบสมาเต็มๆครับ ถึงแม้จะไม่เยอะอลังการเท่า KSC35 แต่ก็มีมาพอสมควรครับ ไม่น้อยน่าเกลียดแต่อย่างใด เป็นเบสพริ้วๆ นุ่มๆ... การไล่ step ของเบสเองก็เนียนมากๆ จนผมไม่อยากจะเชื่อเลยว่า พี่แกทำได้ด้วย!!??


ลักษณะเสียงจะออกใสๆ โปร่งๆ มีเบสนุ่มๆคอยรองรับเป็นจังหวะครับ ก็ให้รายละเอียดของเสียงก็ทำได้ดีครับ ถึงแม้จะยังสู้พวก Full Size อย่าง K701 , MB Quart ไม่ไหว แต่ผมถือว่ามันทำได้ดีไม่ขี้เหร่เท่าไหร่ เท่าที่ลอง test เพลงร๊อค ก็ถือว่าได้อรรถรสฟังได้เพลินทีเดียว แต่ก็แค่พอฟังได้ครับ จะให้มันส์สะใจคงเป็นไปไม่ได้ เพราะน้ำหนักการลงกลองผมยังถือว่าเบาเกินไป และการไล่ melody ของเบสก็ไม่ได้หนักแน่น แฟนๆร๊อคที่ชอบไลน์เบสมากๆอาจจะไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ แต่ถ้าเอาไปเพลง Jazz ละก็ สุดยอดเลยครับ เพราะน้ำหนักกลอง และน้ำหนักเบสมันกำลังพอดีเลยทีเดียว ทั้งใส นุ่มนวล และพริ้วหวานมาก

เสียง Vocal จะค่อนข้างเปิดและ Focus ได้ดี มีมวลอยู่ในระดับกำลังเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป และแยกแยะตัวเองออกมาได้ชัดเจน ไม่เข้าไปปนกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ ทั้งยังออกใสและหวาน ไม่จัดจ้านจนแสบหู แต่ถ้าถอดเอาฟองน้ำออกก็จะจัดขึ้นมาทันทีครับ เหมือนกับเค้า design มาให้ใส่กับฟองน้ำโดยเฉพาะ ถ้าใครชอบเสียงจัดๆก็ลองถอดเล่นดูก็ได้ครับ ไม่ผิดกฏหมาย

แต่ข้อเสียก็มีครับ เพราะบางเพลงพี่แกกลับให้เสียงกลองชุดได้ไม่ค่อยดีครับ จังหวะไม้ลงกระแทกกลองไม่ค่อยชัดครับ เสียงแฉเองก็มัวๆนิดๆด้วยครับ ไลน์กีต้าร์ว่าใส แต่ก็ไม่ชัดคมเท่าที่ควร ซึ่งตรงจุดนี้ผมมองว่า Super.Fi 5 pro ยังทำได้ดีกว่าครับ เสียงจะสูงจะติดออกก้องๆนิดๆด้วย แต่ว่าให้ปลายแหลมที่พริ้วและละมุนละไม


ถ้าให้เทียบกับ KSC35 ผมว่า ขึ้นอยู่กับแนวเพลงที่ฟังด้วยครับ เพราะ E888 ยังด้อยกว่า 35 ในแง่ของเบส แต่ก็ด้อยกว่าแง่นี้เท่านั้น ในด้านอื่นๆผมว่า ทำได้ดีกว่า KSC35 เยอะครับ ทั้ง soundstage มิติ ความใสของเสียง ตัว e-888 กินขาดครับ แถมยังไม่มีเสี้ยนเสียงน่ารำคาญ ( สำหรับผม ) แบบ KSC35 ด้วยครับ


ก่อนหน้านี้ผมเคยไปลองอ่าน review เมืองนอก แล้วบางคนดันบอกว่าเสียง E888เหมือนกันกับ EP880 ไอ้กระผมก็เลยเคยปล่อยไก่ไปทีนึง พอมาวันนี้ลองฟังถึงได้ซึ้งครับว่า EP880 เทียบไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นด้านใดๆเลยครับ ยกเว้นเฉพาะ impact เบสที่ EP880 จะให้ impact ที่หนักกว่า แต่ด้านเนื้อและความนุ่มนวลจะสู้ของทาง E888 ไม่ได้ครับ ถ้าใครชอบเบสสไตล์นุ่ม เสียงหวานๆละมุนละไม ตัว E888 คือคำตอบสำหรับคุณแล้วครับ






SPEC

Type : Lateral, In-the-ear, Open-air
Dynamic Driver Unit : 16mm diameter
Diaphragm : Bio-cellulose
Magnet : Neodymium
Cord: LC-OFC Class 1, Length: 0.4m
Plug Gold-plated : Straight Stereo Mini Plug (1/8")
Impedance : 16 ohms
Sensitivity : 108dB/mW
Power handling capacity: 50mW
Frequency Response : 8 - 27,000Hz
Weight : 0.25 oz. (7g), without cord
Supplied Accessories : Soft case, Ear pads

หูฟังมีกี่แบบ และ มีอะไรบ้าง ???



เนื่องมาจากปัจจุบันมีหูฟังหลากหลายรูปแบบมากมายตามแต่ที่ผู้ผลิตจะคิดค้น ขึ้นมา ซึ่ง ก็ทำให้ New Entry หรือ นักเล่นหน้าใหม่พากันสับสน งงงวย ว่าจะเลือกหูฟังยังไง ใช้แบบไหนดี และอย่างไรที่เหมาะกับตัวเราที่สุด ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ผมจะแบ่งหูฟังออกเป็นกว้างๆก่อน 3 ส่วน โดยจะแย่งออกเป็น



Full-Size
Semi Full-Size
Micro-Size


ทั้งสามส่วนคือกลุ่มของหูฟังในระดับใหญ่ ที่แบ่งตามขนาดของหูฟัง พูดง่ายๆคือ หูฟังทั้งหมดที่วางขายในโลกจะอยู่ใน 3 ส่วนหลักๆนี้ทั้งหมด ซึ่งในแต่ละส่วนก็แบ่งแยกออกเป็นลักษณะประเภทอย่าง Open Type , Semi-Open Type และ Close Type ขึ้นอยู่กับการ Design หูฟังแต่ละตัวที่ทางค่ายนั้นๆออกแบบมา ซึ่งลักษณะของหูฟังแบบต่างๆเหล่านี้มีผลต่อการใช้งาน และเรื่องของเสียงด้วยครับ รายละเอียดปลีกย่อยเดี๋ยวผมบอกทีเดียวในแต่ละส่วนนะครับ เพราะทั้ง Full-Size , Semi Full-Size และ Micro-Size ก็ล้วนมีรูปแบบคล้ายๆกันทั้งหมดครับ



ทีนี้เรามาดูกันว่าในแต่ละส่วนมีอะไรบ้าง......




Full-Size

http://img.photobucket.com/albums/v322/rokuyon/mobiblu2_small.jpg 

เมื่อพูดถึง Full-size ก็ย่อมหมายถึงหูฟังที่มีขนาดใหญ่โต โดยอาจจะเป็นหูฟังที่มีลักษณะแบบครอบทั้งใบหู หรือแนบบนใบหูก็เป็นได้ ส่วนมากแล้วหูฟังแบบ Full-Size จะเหมาะสำหรับการใช้งานแบบส่วนตัวและอยู่กับที่ ไม่เหมาะสำหรับการพกพาไปไหนมาไหน ยกเว้นหูฟังที่ต้องใช้งานประเภท Monitor ทั้งหลาย บางตัวจำเป็นต้องพกไปใช้งานเวลาออกงาน PA แต่ก็ยังเป็นการพกพาเพื่อใช้ในสถานที่นั้นๆเท่านั้น
โดยปรกติแล้ว ผู้ผลิตมักจะแบ่งชนิดของหูฟังปลีกย่อยลงไปจากปรกติอีก ซึ่งนอกเหนือจากขนาดแล้ว ยังแบ่งตามความเหมาะสมในการใช้งานของหูฟังนั้นๆด้วย เช่น


~Studio Monitor~ 

มักจะเป็นหูฟังที่ให้เสียง Balance ที่ดี ไม่ค่อย Color มาก และชัดทุกย่าน ส่วนมากจะไม่เน้นเบสเป็นพิเศษ บางตัวเรียกว่าเบสหายไปเลยด้วยซ้ำ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นหูฟังที่ออกแบบมาให้ใช้งานในส่วนไหน เพราะการใช้งานใน Studio มีตั้งแต่ การ Mix เสียง , งาน Stage หรือ PA ฯลฯ แต่ก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงไปเลยนะครับว่า หูฟังตัวนั้นตัวนี้ ใช้ได้เฉพาะงานนั้นงานนี้เท่านั้น บางทีก็ขึ้นอยู่กับคนใช้ด้วยครับ บางคนก็ชอบเสียงแนวนี้ บางคนชินกับสไตล์นี้ ตรงนี้ก็แล้วแต่ความชอบของคนใช้ครับ โดยมากแล้วหูฟังแบบ Monitor มักจะเป็นลักษณะแบบ Close Type มีบ้างบางตัวที่เป็นแบบ Semi-Open แต่ก็ส่วนใหญ่แบบ Close จะถูกหยิบนำมาใช้มากกว่า เพราะบางทีก็จำเป็นต้องให้มันเก็บเสียงจากภายนอกในระดับนึงครับ หูฟังเด่นๆในตระกูลนี้ก็ได้แก่


Sony MDR-V6 
Sony MDR-7509 
AKG K240 
Sennheiser HD-25 
Sennheiser HD280pro 
Beyerdynamic DT770 , DT880 และ DT990 
Audio-Technica A900 , A950Ltd



~Hi-Fi

ถือเป็นส่วนที่นิยมมากที่สุด เพราะนักฟังเพลงทั่วไปมักนิยมเลือกหูฟังในส่วนนี้ จะมีบางคนที่ชอบสไตล์เสียงที่ออกแนวแข็งๆและเป็นธรรมชาติ ก็จะเลือกหูฟังในแบบ Monitor มาใช้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเลือกหูฟังแบบนี้ทุกคน และยังเป็นส่วนที่ทางผู้ผลิตให้ความสำคัญในการออกแบบมากที่สุด และยังเป็นส่วนที่มีตัวเลือกมากที่สุดในตลาดอีกด้วย หูฟังส่วนนี้เหมาะสำหรับฟังเพลงทั่วๆไป ไม่เหมาะใช้งานใน Studio เท่าไหร่ เนื่องจากบางตัวนั้นจะค่อนข้าง Color เกินกว่าความเป็นจริง แต่ความ color นี่แหละครับที่ทำให้ฟังเพลงแล้วไพเราะเสนาะหู โดยมากแล้วหูฟังสำหรับ Hi-Fi มักจะเป็นหูฟังแบบ Open Type เพื่อเพิ่มความรู้สึกโปร่ง และสามารถสัมผัสถึง Airy หรือ อาการที่มีอากาศไหลรอดผ่าน image ของชิ้นดนตรีแต่ละชิ้น ทำให้ฟังเพลงแล้วรู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้น หูฟังเด่นๆในส่วนนี้ก็ได้แก่

Sennheiser - HD595 , HD650 , Orpheus
Grado - SR60 , SR225 , RS1 , GS1000 , MS-1 , MS-2 , MS-Pro
Audio-Technica - AD2000 , W5000 , L3000
AKG - K701
STAX - LAMPDA , OmegaII


นอกจากนี้แล้ว ยังมีหูฟังที่ Design มาเฉพาะทางอย่างเช่น Multimedia Headphone ประเภทที่สามารถแยกเสียงออกเป็น Multi Channel ได้ อย่างหูฟัง Creative HQ-2300D ที่ใช้ระบบ Dolby Headphone พร้อม Driver หูฟัง 3 Driver แยกเป็น Tweeter , Mid-Range และ Bass ซึ่งจะมีตัวควบคุมในการแยกสัญญานให้เป็น 5.1 Channel มาพร้อมใน set ด้วย อันที่จริงแล้วในตลาดก็ยังมียี่ห้ออื่นๆที่ทำออกมาแข่งขันกันอย่างเอาเป็น เอาตายอีกด้วย อย่างเช่น Exsound Starfish 7.1 , Zalman 7.1 ที่มีราคาถูกกว่า HQ-2300D ( แต่คุณภาพเสียงยังด้อยกว่าหน่อย ) อีกทั้งยังมีหูฟังประเภท Wireless หรือไร้สาย ออกมาด้วย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ เนื่องจากมีราคาสูง และคุณภาพเสียงยังไม่คุ้มต่อราคา

นอกเหนือจากยี่ห้อที่กล่าวมา ยังมีอีก Brand หนึ่งที่มุ่งเน้นในตลาดนี้โดยเฉพาะ ซึ่ง Brand นั้นก็คือ Ultrasone ที่มาพร้อมเทคโนโลยี S-logic ข้อแตกต่างของ Ultrasone กับยี่ห้ออื่นๆคือ Ultrasone ไม่ได้เน้นในเรื่องของ Multi Channel ดังนั้นจึงไม่มี Adaptor ในการแปลงสัญญานแถมมาให้ด้วย แต่จะไปเน้นในเรื่องการออกแบบให้หูฟังสามารถสร้างมิติกว้างขวางโดยไม่ต้อง ใช้เครื่องแปลงให้เสียเวลา ดังนั้นหูฟังของ Ultrasone ที่มี S-Logic แปะอยู่ ก็จะให้เสียงได้รอบทิศทางเหมือนกับในโรงหนัง โดยที่เป็นเสียงรอบทิศทางที่เป็นธรรมชาติกว่าของพวกหูฟังแบบ 5.1 Channel ครับ

หูฟังประเภทนี้ เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีห้องกว้างๆและอยากดูหนังระบบ 5.1 แบบเต็มอิ่มและไม่รบกวนใคร







Semi Full-size


http://www.hifi.com.tw/images/product/ath_esw9demo_2.jpg


หูฟังแบบ Semi Full-size จะเป็นหูฟังที่มีขนาดเล็กกว่า Full-Size พอสมควร เป็นหูฟังที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถพกพาไปฟังข้างนอกบ้านได้โดยสะดวก เท่าที่ผมเคยอ่านมารู้สึกว่า ตัว Semi Full-Size นั้น จะปรากฏโฉมครั้งแรกพร้อมกับ player ในระดับตำนานอย่าง Sony Walkman รุ่นแรกเลยครับ หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาออกมาเรื่อยๆตามลำดับ จนปัจจุบันนั้น ถือว่าหูฟังแบบ Semi Full-Size มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกมากมาย ซึ่งจุดเด่นของ Semi Full-size ก็คือ ให้มิติใกล้เคียงกับความเป็น Full-Size แต่สามารถติดตัวไปไหนมาไหนได้แบบสบายๆ บางรุ่นออกแบบ Case ใส่ออกมาได้ดีมากๆ ทำให้การพกพายิ่งสะดวกมากยิ่งขึ้น

การแบ่งแยกหูฟังในส่วนนี้ จะแยกตามรูปแบบการ design ของหูฟัง โดยส่วนใหญ่จะแยกออกเป็น





Street Style / Earpad Headphone ( On The Ear ) 


โดยปรกติแล้ว หูฟังประเภท Street Style กับ Earpad Headphone จะถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด เพราะลักษณะที่แท้จริงของ Street Style คือ ต้องเป็นหูฟังที่มีก้านเชื่อมหูฟังทั้งสองข้างอ้อมไปทางด้านหลังหัว หรือที่เรียกกันว่า “ Neckband ” ในขณะที่ตัว Earpad Headphone จะเป็นก้านแบบคาดหัวที่เรียกกันว่า “ Headband ” แต่ปัจจุบัน ผู้ผลิตเริ่มนำมาใช้เรียกรวมๆกันว่าเป็น Street Style ทั้งหมด ซึ่งอันที่จริงผมว่า ควรจะเรียกแยกออกจากกันจะดีกว่า เพราะรูปแบบมันไม่ได้เหมือนกันเอาซะเลย และถ้าเรียกแยกจากกัน ผมว่า เวลาพูดถึงหูฟังทั้งสองอย่างจะทำให้อีกฝ่ายที่เราคุยด้วย เข้าใจง่ายขึ้นกว่าเดิม เรียกรวมๆกันแบบนี้บางทีก็สับสนเหมือนกันนะครับ

หูฟังแบบ Street Style ผมยังหาข้อมูลจุดเริ่มต้นงาน design แบบนี้ไม่ได้ แต่โดยส่วนตัวเท่าที่ค้นหาหลักฐานย้อนหลังมา เชื่อว่า น่าจะเป็นการพัฒนามาจาก Clip-Ear มากกว่าที่จะเป็นการพัฒนาจาก Earpad Headphone ถึงแม้ว่าหูฟังแบบ Semi Full-Size ที่กำเนิดมาครั้งแรกจะเป็นแบบ Earpad Headphone ก็ตาม ซึ่งถ้าดูจากวิธีการใส่ของหูฟังแบบ Street Style หลายๆคนก็คงเข้าใจว่าทำไมผมถึงคิดเช่นนั้น

ส่วนมากหูฟังแบบ Street Style จะเหมาะกับงานประเภท Outdoor หรือ การออกกำลังกายมากๆ เพราะหูฟังจะล๊อคติดกับหูเราได้แน่นสนิท เวลาที่เราออกกำลังกายทั่วๆไปอย่างเช่น จ๊อคกิ้ง , ขี่จักรยาน และอื่นๆ ตัวหูฟังจะไม่หลุดออกง่ายๆ ผิดกับหูฟังประเภท Earpad Headphone ที่เน้นการใช้งานในลักษณะที่นุ่มนวลกว่านั้น และมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่านั้น เนื่องจากจุดอ่อนของการคาดหัวแบบ “ Headband ” ที่ถ้าเกิดมีการเคลื่อนไหวมากๆ อาจจะหลุดได้ง่ายๆ ถึงแม้จะออกแบบให้รัดได้แน่นแค่ไหน ก็ยังคงสู้การล๊อคเข้าที่ก้านหว่างหูแบบ Street Style ไม่ได้ครับ ดังนั้น หูฟังแบบ Earpad Headphone จึงเหมาะจะใช้เวลาเดินทางไปไหนมาไหนแบบสบายๆ เช่น ขึ้นรถไฟฟ้า , นั่งรถเมล์ หรือเดินบนท้องถนนทั่วๆไป หูฟังเด่นๆในส่วนนี้ก็ได้แก่


KOSS - Portapro , Sportapro ( ตัวนี้สามารถเปลี่ยนเป็น Street Style และ Earpad ได้ )
Audio-Technica - ESW9 , ES7
Grado - iGrado
AKG - K412p






Clip-On / Clip-Ear



หูฟังแบบ Clip-On หรือ บางคนเรียกว่า Clip-Ear จะมีลักษณะใกล้เคียงกับหูฟังแบบ Street Style มากกว่าพวก Earpad Headphone เพราะมีส่วนก้านล๊อคเข้าที่ก้านหูคล้ายๆกับของ Street Style เพียงแต่จะไม่มี Neckband อ้อมไปด้านหลังคอ เพราะต้องการให้ใส่แล้วรู้สึกแบบเบาสบายไม่เกะกะ โดยมากหูฟังประเภทนี้จะค่อนข้างล๊อคติดแนบแน่นกับหูเราพอสมควร ดังนั้นบางคนจึงใช้ในการออกกำลังกายทั่วไปด้วย ข้อดีอีกอย่างคือมันพกพาง่ายกว่าพวก Street Style หรือ Earpad Headphone เพราะไม่มีก้านที่ต้องพับให้วุ่นวาย มีเพียง Driver ซ้ายและขวาเท่านั้น ตัว Clip-On จึงมีผู้นิยมในระดับนึงทีเดียว ส่วนยี่ห้อและรุ่นที่เด่นๆในส่วนนี้ก็ได้แก่

KOSS - KSC35 , KSC75
Audio-Technica - EM9r , EM9d , EM700ti


และด้วยอนิงสงค์ของ iPOD และ PMP Player ที่สามารถดูหนังแบบพกพาไปไหนมาไหนได้ ทำให้มี Earpad Headphone และ Street Style สำหรับการชมภาพยนตร์ออกมาด้วย ซึ่งแน่นอน เป็นตัวที่มาจากค่าย Ultrasone เช่นเดิม โดยตัวที่เด่นของทาง Eadpad Headphone ของค่ายนี้ก็คือ HFI-15G ส่วนตัวที่เป็น Steet Style ก็เป็น iCAN





Micro-Size

หูฟังประเภท Micro Size เป็นหูฟังที่ถูกพัฒนาลงมาจาก Semi Full-size เพื่อให้สามารถพกพาได้ง่ายขึ้น และใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งในท้องตลาดปัจจุบันถือได้ว่าเป็นหูฟังที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดใน บรรดาหูฟังทุกประเภท และมียี่ห้อที่หลากหลายมากที่สุด แต่ก็เป็นหูฟังที่ทำให้มีคุณภาพดีได้ยากที่สุดเช่นเดียวกัน เพราะขนาด Transducer ที่เล็กมาก และระยะที่ใกล้ชิดกับหูมากๆ ทำให้การออกแบบเพื่อได้มิติที่ดีนั้นทำได้ยากมากเลยทีเดียว ดังนั้นหูฟังที่เด่นๆจริงๆจึงมีเพียงไม่กี่ยี่ห้อ และไม่กี่รุ่น

หูฟังแบบ Micro-Size นั้นสามารถแยกย่อยออกมาได้ 3 ประเภทหลักๆ โดยแบ่งออกเป็น Earbud , In-Ear และ Hybrid ซึ่งเป็นหูฟังที่ผสมผสานระหว่าง In-ear และ Earbud เข้าด้วยกัน ดังนั้นเรามาเริ่มกันที่หูฟังที่เป็นที่นิยมที่สุดในท้องตลาดขณะนี้ก่อนเป็น อันดับแรกครับ





Earbud

 
หูฟังแบบ Earbud ถือว่าเป็นหูฟังสำหรับผู้เริ่มต้นในยุคนี้เลยทีเดียว เพราะ player ส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาด มักจะแถมหูฟังแบบ Earbud มาพร้อมเสร็จสรรพในชุดอยู่แล้ว กระทั่งพวก Handfree ที่ใช้กับมือถือทั้งหลายก็ยังใช้หูฟังแบบ earbud เป็นตัวยืนพื้น ดังนั้นเมื่อพูดถึงหูฟังคนส่วนใหญ่ย่อมนึกถึง earbud ก่อนเป็นอันดับแรก

แต่ก็อย่างที่ผมเกริ่นไว้ก่อนแล้ว หูฟังแบบ Earbud นั้นถือว่าเป็นหูฟังที่ออกแบบให้ดีได้ยากมากๆ เพราะข้อจำกัดในเรื่องขนาดและระยะของเสียงจาก Driver ไปยังแก้วหูนั้น มันใกล้มากเกินไป ดังนั้นหูฟังโดยทั่วๆไปที่วางขายกันอยู่โดยเฉพาะของ no name หรือของจีนแดง มักจะให้เสียงที่ไม่ดีจนคนที่ไม่ได้มีหูทองก็สามารถแยกออกได้ง่ายๆ แถมคุณภาพการผลิตก็แย่ ใช้งานได้ไม่เท่าไหร่ก็มักจะพังเอาง่ายๆ ไม่สายขาดในก็ driver หลุดออกมาจาก Housing ดังนั้นการเลือกหูฟังประเภทนี้ควรดูพวก Brand ที่มีชื่อเสียงไว้ก่อน และค่อยลองฟังเสียงก่อนจะตัดสินใจซื้อมาก เพราะจะช่วยให้อัตราการเสี่ยงที่เจอหูฟังด้อยคุณภาพลดลงไปเยอะครับ หูฟังในส่วนนี้ที่เด่นๆก็มี


Sennheiser MX400 , MX500, MX90VC 
Sony MDR-E888 
Yuin PK3 , PK2 และ PK1
Audio-Technica CM700 , CM700ti
Soken AS-800


จะว่าไป ตลาดหูฟังของ Earbud ผมถือว่าเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดนะครับ เรียกได้ว่านำหน้าตลาดของหูฟังในส่วนอื่นๆเลยทีเดียว เนื่องจากหูฟังประเภทนี้ หาซื้อง่าย ราคาถูก และมีหลากหลายยี่ห้อให้เลือก แถมยังคุ้นเคยเพราะอยู่คู่กับเครื่องเล่นแบบพกพามาช้านาน คนที่ใช้ก็สบายใจมากกว่าจะใช้เป็นพวกยัดหูแบบ In-ear เพราะบางคนจะค่อนข้างกลัวเรื่องเอาหูฟังยัดเข้าไปลึกๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว หูฟังแบบ Earbud ที่ใช้ๆกันก็จะเป็นหูที่แถมมากับเครื่องเล่น MP3 ทั้งนั้นแหละครับ

และด้วยความที่เป็นหูฟังที่อยู่ในตลาดมาช้านาน ดังนั้น มันก็ย่อมมีสิ่งที่เรียกว่า “ ของในตำนาน ” ครับ

ถ้าจะพูดถึงหูฟังที่เหมาะจะใช้คำว่าตำนานของระดับ Full-Size ก็คงจะเป็นหูฟังที่เลิกผลิตไปแล้ว แถมยังหาซื้อได้ค่อนข้างยากด้วย เช่น

- สาย Sony ก็จะเป็น Sony CD3000 , Sony Qualia 010 และ Sony R10
- สาย Grado ก็น่าจะเป็น Grado PS-1 , PS-2 และ Grado HP-1000
- สาย Audio-Technica ก็จะเป็น ATH L3000 และ ATH W2002
- สาย Sennheiser ก็คงเป็น Orpheus ตัวเดียวเลยล่ะครับ
- สาย AKG ก็เป็น AKG K1000 และ AKG K340

แต่ถ้าเป็นระดับ Earbud ก็คงจะต้องยกให้ Sony กับ Aiwa ที่เป็นเจ้าผู้ครองตลาดสมัยเทปเพลงยังโด่งดังกับเครื่องเล่นพกพาที่เรียกกันว่า ซาวน์อะเบ้าท์ หรือ Walkman นั่นแหละครับ ซึ่งทั้งคู่ก็มีหูฟังที่เรียกว่า “ทรงคุณค่า” อยู่คนละตัวคือ

- Sony MDR E-484
- Aiwa HP-V99 , Aiwa HP-D9

ผมเองก็เคยฟังแค่ตัวเดียว นั่นก็คือ E-484 ซึ่ง ถ้าจะพูดกันเฉพาะเนื้อเสียง จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกับ Westone UM2 ครับ แต่ในแง่ของมิตินี่ ไม่เหมือนใครเลยครับ เพราะให้ image ใหญ่ soundstage กว้าง และมีความเป็น 3 มิติเอามากๆ แต่ติดตรงเสียงกลางจะขุ่นๆนิดแต่ก็ไม่หนักหนาเท่า UM2 เพระาอย่างน้อยย่านสูงก็ยังมีความใสกว่าครับ ส่วน Aiwa นี่ยังไม่กล้าฟันธง เพราะตัวที่เคยลองเก่าไปนิดนึงครับ ต้องของลองดูตัวที่สภาพสมบูรณ์กว่านี้อีกหน่อยค่อยว่ากันใหม่


อีกตัวนึงของ Sony ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน ( หรือหาซื้อไม่ได้อีกแล้ว ) ก็คือ Sony MDR-E888 ครับ ตัวนี่จะให้เสียงที่หวานใสและเบสนุ่ม เหมาะสำหรับฟังเพลง Pop และเพลง Jazz เอามากๆครับ ปัจจุบันเห็นว่ากำลังจะเลิกผลิตแล้ว เพราะจากอดีตที่เคยมีเวอร์ชั่นอย่าง Made in Japan แล้วก็กลายมาเป็น Made in China จนตอนนี้ผมเจอแบบ Made in Thailand แล้วครับ คาดว่าคงได้หายไปจากตลาดในไม่ช้านี้ เพราะมีรุ่นน้องคนใหม่อย่าง Sony EX90 ขึ้นมาแทนที่แล้วครับ ใครอยากได้ก็รีบๆหาซื้อมาเก็บไว้แล้วกันครับ

ในส่วนของ Micro-size นั้น นอกจากจะมี Earbud แล้ว ก็ยังมีอีกส่วนที่กำลังเป็นกระแสที่มาแรงในขณะนี้ นั่นก็คือ IEM หรือ หูฟังแบบ In-ear นั่นเองครับ





In-ear ( IEM )


เป็นหูฟังที่เหมาะสมกับการใช้งานยุคปัจจุบันที่สุดแล้วครับ และยังเป็นหูฟังมาแรงทุกขณะ จนแทบจะทุกค่ายต่างก็พากันผลิตหูฟังประเภทนี้ครับ ที่สำคัญ ช่วงหลังๆมานี่ Mp3 Player ยี่ห้อต่างๆ ก็เริ่มเปลี่ยนมาแถมเป็นหูฟังแบบ In-ear กันเป็นส่วนใหญ่เลยครับ คาดว่าอีกไม่นานก็คงจะแทนที่ earbud ได้อย่างสมบูรณ์เลยทีเดียวเชียวครับ

หูฟังประเภท In-ear นั้น แรกเริ่มเดิมที ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานใน Studio , Stage และ PA เป็นหลัก เพราะความที่มันมีระบบ isolation หรือ การเก็บเสียงที่ดี เหมาะสำหรับใช้งานที่ที่อึกทึกเอามากๆเลยทีเดียว ดังนั้นในยุคแรกๆมันจึงได้ใช้ชื่อว่า IEM หรือ In Ear Monitor นั่นเอง เพราะส่วนใหญ่เค้าจะเอามาใช้งานด้านเสียง มากกว่าเอามาฟังเพลง โดยผู้ผลิตเจ้าแรกๆก็คงจะเป็น Shure นี่แหละครับ ซึ่งทางในตอนนั้นทาง Shure ก็ได้ว่าจ้างบริษัท Westone ให้ผลิตหูฟังในชื่อว่า Shure E1C ออกมา และต่อมาในภายหลัง Westone ก็ออกหูฟังของตัวเองในชื่อ UM1 และ UM2

หลายๆคนมักจะกลัวว่า หูฟังแบบ In-ear จะก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าหูฟังประเภทอื่น แต่อันที่จริงแล้ว ถ้าพูดถึงความอันตรายนี่ ก็พอๆกันทุกแบบแหละครับ ขึ้นอยู่กับการใช้งานมากกว่า ถ้าเปิดดังเกินไป ไม่ว่าจะหูฟังแบบไหนมันก็สร้างปัญหาให้กับเราได้ทั้งนั้นแหละครับ ผมว่า แบบ In-ear จะปลอดภัยกว่าหน่อยด้วยซ้ำ เพราะเราไม่ต้องเปิดเสียงดังแข่งกับเสียงรอบข้างเรา ทำให้เราฟังเพลงได้เพราะขึ้นโดยไม่ต้องเปิดเสียงดัง หูเราก็จะอยู่คู่กับเราไปได้อีกนานเลยล่ะครับ หูฟังที่เด่นๆในส่วนของ In-ear ก็จะมี

Ultimate Ears - Super.fi 3 live , Super.fi 4 , Super.fi 5 pro และ Triple.fi 10 pro
Westone - UM2
Shure - E3C , E4C , E5C และ SE530
Etymotic - ER4P, ER6i
Creative - EP630
Philips - SHE9700
Sennheiser - CX300 , CX500
Crossroad - Mylarone X3
Soundmagic - PL11, PL12 , PL30
SONY - MDR-EX500 , MDR-EX700
Jays - qJAYs
Altec-Lensing - IM716

นอกเหนือจากหูฟังในแบบ Mass Production แล้ว ยังมีหูฟัง In-ear แบบที่ Build by order ในลักษณะที่เป็นหูฟังแบบพอเหมาะพอเจาะกับหูของเราเป๊ะๆ ในชื่อว่า Custom In-ear ซึ่ง ตอนนี้กำลังเริ่มเป็นที่นิยมในระดับนึงเลยทีเดียว เพราะหูฟังแบบนี้จะเสียบเข้าพอดีกับหูเราและจะค่อนข้างเก็บเสียงได้ดีกว่าพวกที่ใช้ Housing แบบ Universal ที่วางขายในท้องตลาดทั่วๆไป

แต่เนื่องจาก Custom In-ear มีราคาสูง ฟังได้แค่คนเดียว แถมยังขายต่อไม่ได้อีก ทำให้คนที่นิยมก็ยังอยู่กันในแค่วงแคบๆเท่านั้นครับ เห็นว่าอีกไม่นานจะมีหูฟังแบบ Custom ของคนไทย ก็หวังว่าจะออกมาไม่แพง และช่วยให้คนที่เล่นหูฟังมีทางเลือกมากขึ้นนะครับ




การเลือกซื้อหูฟังซักตัว นอกเหนือจากเรื่องเสียงและ Design แล้ว เราก็ควรจะดูด้วยครับว่า ส่วนใหญ่เราใช้งานในลักษณะไหน เช่น ออกนอกบ้านบ่อยๆ ใช้ข้างนอกบ้านเป็นส่วนใหญ่ ก็ควรใช้หูฟังแบบ Semi-Fullsize หรือ Micro-Size ไปเลย หรือ ถ้าอยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ก็น่าจะหา Full-size ดีๆซักตัว ใส่สบายๆจะดีกว่าครับ จริงๆของพวกนี้ก็ไม่ได้มีกฎกำหนดตายตัวว่าจะใช้อะไรแบบไหนที่ไหนยังไง เพราะผมยังเคยเห็นคนใส่ Full-Size เดินขึ้นรถเมล์หน้าตาเฉย แต่ถ้าเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน เราจะมีความสุขกับการฟังเพลงได้มากกว่าครับ



http://g7-g7.blogspot.com/2008/12/blog-post_10.html

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

HISTORY HEADPHONE

ประวัติหูฟัง

สวัสดีครับ วันนี้เรามารู้จักประวัติของหูฟังกันดีกว่าครับ โดยประวัตินี้ผมได้ใช้ประสบการณ์ส่วนตัวรวมทั้งข้อมูลเท่าที่พอจะหาได้ (ข้อมูลหายากมากทั้งเวบไทยเวบเทศ) และได้ลองเล่าให้เพื่อนๆ หลายๆ คนได้ฟัง เขาก็เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เล่น gadget ทั้งใหม่และเก่าครับ จึงได้เรียบเรียงเขียนมาให้อ่านกันครับ

แต่ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่าข้อมูลหายากจริงๆ ข้อมูลบางส่วนอาจจะผิดพลาดไปจากที่หลายๆ ท่านได้รู้มา ถ้ามีตรงไหนไม่ตรงตามความเป็นจริงรีบท้วงเลยนะครับ ผมจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง (ผมถือคติว่า ไม่มีใครรู้อะไรทั้งหมด เราอาจรู้ในสิ่งที่เขาไม่รู้ เขาอาจจะรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ ^_^)

เริ่มเลยแล้วกันครับ


1. กำเนิด Full size

เท้าความในสมัยที่มีการเริ่มประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ เอดิสันได้ประดิษฐ์สิ่งของมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ เครื่องบันทึกเสียง และเครื่องเล่น อุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนาไปอย่างมากมาย กลายเป็นเครื่องเล่นตามบ้าน มีการสร้างลำโพงตั้งโต๊ะ ยุคสมัยเริ่มต้นจริงๆ ของหูฟังน่าจะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีความต้องการใช้หูฟังในวงการทหาร (เพื่อฟังเสียงวิทยุต่างๆ) จึงได้มีการพัฒนาหูฟังกันขึ้นมา โดยนำดอกลำโพงขนาดย่อมๆ 2 อัน มาใส่กับที่คาดผม ซึ่งเป็นที่มาของ "หูฟัง Full size"

ในตอนแรกยังไม่มีฟองน้ำ เราเรียกว่า Full size แบบเปิด มีแต่ไดรเวอร์แปะกับหูโดยตรงเท่านั้น ตอนหลังจึงมีฟองน้ำให้ใส่สบายไม่ล้า และช่วยกันเสียงภายนอก เราเรียกกันว่า Full size แบบปิด หูในสมัยก่อนส่วนใหญ่จะมีโครงเป็นเหล็กเพราะต้องการให้ทนทานเมื่อเวลาใช้ในสงคราม จึงทำให้มีน้ำหนักค่อนข้างหนัก หลังจากเสร็จศึกสงคราม กลุ่มบริษัทต่างๆ ที่ได้ผลิตหูฟังให้กับการทหารก็เริ่มมาทำในเชิงพาณิชย์มากขึ้น
กลุ่มประเทศที่เริ่มทำ Full size ก่อนน่าจะเป็นยุโรป เพราะวิทยาการขณะนั้นก้าวล้ำไปกว่าอเมริกาและเอเชียมากนัก ตอนหลังอเมริกาจึงไล่มาทันและแซงไปในที่สุด ฉะนั้นถ้าว่ากันตามแหล่งกำเนิด Full size ดีๆ มักจะผลิตจากยุโรปแทบทั้งนั้น (เพราะเขาทำมาก่อนน่าจะมีความเชี่ยวชาญมากกว่า) ตัวอย่างเช่น Sennheiser Ergo เป็นต้น แต่ไม่ได้หมายความว่าที่อื่นทำไม่ดี แต่ถ้าว่ากันถึงส่วนใหญ่ หูฟัง Full size ดีๆ มักมีแหล่งผลิตจากยุโรป
2. กำเนิด Ear bud

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ญี่ปุ่นต้องพัฒนาตัวเองอย่างหนักเพื่อเอาชีวิตรอด ได้มีการปฏิวัติการพัฒนาเลยทีเดียว หนึ่งในนั้นก็คื่อเครื่องเล่นเทปแบบพกพา โดยเจ้าของโซนี่เป็นผู้คิดค้น พอคิดค้นได้ก็ต้องมีหูฟังมาใช้ร่วมกัน

ตอนแรกก็นำเอา Full size มาใช้ แต่ด้วยน้ำหนักที่มาก ดูเทอะทะ จึงได้ทำการลดขนาดให้เล็กลง แต่ยังใช้ที่คาดแบบที่คาดผมอยู่ (เป็นต้นกำเนิดของหูฟังกึ่ง Full size ในปัจจุบัน) มีการทำตัวพับได้ออกมาขายด้วย แต่ขนาดนั้นก็ยังใหญ่เกินไปถ้าจะพกพา จึงได้มีการลดขนาดให้ไดร์เวอร์เล็ก และทำให้ใส่ในรูหูได้พอดี ซึ่งกว่าจะออกแบบ
มาได้โซนี่ได้ลองผิดลองถูกตั้งนาน เป็นที่มาของหูฟัง "Ear bud"

คนที่ผลิต Ear bud เป็นคนแรกก็คือโซนี่ อาจจะมีคำถามว่าแล้วทำไมในช่วงนั้น ยุโรป กับอเมริกาไม่ทำตาม มีเหตุผล 2 ประการคือ
- หนึ่งคือเขาค่อนข้างดูถูกคนญี่ปุ่นคิดว่าไม่ได้เรื่อง เหมือนของเด็กเล่น (สมัยนั้นไทยเราก็ยังดูถูกเขาอยู่เลย ถ้าเป็นของญี่ปุ่นกระจอก ต้องเป็นของอเมริกาถึงจะดี)
- สองเสียงที่ได้แย่กว่า Full size มาก เขาจึงไม่คิดจะทำกัน ปล่อยให้ญี่ปุ่นพัฒนาไปตั้งไกลแล้วจึงค่อยเริ่มทำตาม
ฉะนั้นถ้าว่ากันตามแหล่งกำเนิดแล้ว หูฟัง Ear bud ดีๆ ส่วนใหญ่จึงมาจากญี่ปุ่น (เพราะเขาทำมาก่อน เป็นต้นแบบ) ตัวอย่างเช่น Sony , Aiwa เป็นต้น
3. กำเนิด In ear
ยุคสมัยเพลงเบ่งบานในอเมริกา (ประมาณปี 1950-1980) ได้มีการทำเพลงออกมามากมาย มีเพลงออกมาหลากหลายสไตล์ ทำให้อเมริกาก้าวล้ำเรื่องเพลงไปมากกว่ายุโรปและประเทศอื่นๆ หลายเท่าตัว การบันทึกเสียงเพื่อทำเทปก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ถ้าคนที่เคยอยู่ในห้องซ้อม หรือห้องอัดจะรู้ดีว่าเสียงในห้องอัดค่อนข้างดัง ถึงดังมาก มีเสียงกวนกัน ทำให้เล่นผิดจังหวะ มือกลองที่ต้องคุมจังหวะส่วนใหญ่จึงต้องใส่ Full size แบบปิดเพื่อกันเสียง และก็ได้ฟังจังหวะที่ถูกต้อง

แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ที่ความใหญ่ใส่ไม่สะดวก นักร้องหรือ นักกีตาร์ จะใส่ไม่ถนัด จึงมีการคิดค้นหูฟังขนาดเล็กที่สามารถกันเสียงได้ และได้ยินเสียงที่ชัดเจน จึงได้ทำหูฟังเลียนแบบหูฟังของคนหูตึง หูฟัง "In ear" จึงกำเนิดขึ้นมา ซึ่งตอนแรกผลิตมาเพื่อห้องอัดเท่านั้น เมื่อนักฟังเพลงได้เห็นนักดนตรีใช้จึงเอาแบบอย่างบ้าง In ear จึงได้เริ่มมีการผลิตมาเพื่อฟังเพลงมากขึ้น

แต่ด้วยการผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อน เพราะมีพื้นที่ขนาดเล็ก ไดร์เวอร์ก็ต้องเล็กตาม และการที่จะทำให้เสียงดีได้นั้นไม่ง่าย ราคาจึงค่อนข้างแพงกว่าหูฟัง 2 กลุ่มที่ผ่านมาแล้วอย่างมาก อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาหนักอกแก่ผู้พัฒนา In ear อย่างมากก็คือเสียงที่ได้ค่อนข้างแคบ เพราะตอนแรกตั้งใจจะทำเพื่อใช้ในสตูดิโอเท่านั้น (ต้องการแค่กันเสียง กับให้เสียงที่ชัดเจน) ไม่ได้ทำมาเพื่อใช้ในการฟังเพลง จึงต้องการแก้ปัญหากันตรงนี้

ด้วยกายภาพของ In ear มีพื้นภายในน้อยมาก การจะทำให้เสียงกว้างจึงเป็นงานหินทีเดียว มีการพยายามหาจุกโฟมหลายๆ แบบเพื่อให้เสียงโปร่งขึ้นไม่อึดอัด มีการแถมจุกโฟมหลายๆ แบบเพื่อให้เลือกใช้ตามความต้องการ ในที่สุดก็ได้มาจบตรงการใส่ไดร์เวอร์เพิ่มเพื่อให้เสียง และช่วงเสียงกว้างขึ้น แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมา เพราะพื้นที่มีค่อนข้างน้อย และระยะทางถึงแก้วหูค่อนข้างสั้น ทำให้เสียงของแต่ละไดร์เวอร์ตีกันเอง (เรียกว่า Cross over) จึงต้องมีการทำภาคแก้ไข Cross over ออกมาด้วยสำหรับหูฟัง In ear ที่มีตั้งแต่ 2 ไดร์เวอร์เป็นต้นไป นั่นเป็นเหตุผลทำให้หูฟัง In ear ที่มีหลายๆ ไดร์เวอร์ ก็แพงกว่าแบบธรรมดาหลายเท่าตัวเช่นเดียวกัน

ได้มีการนำ In ear ไปใช้ในงานคอนเสิร์ตต่างๆ ด้วย (เสียงในคอนเสิร์ตค่อนข้างดัง และฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง) นักร้อง นักดนตรีจึงต้องใช้ In ear ช่วย แต่ก็เกิดปัญหาในเรื่องของการใส่แล้วหลุดบ่อยบ้าง ยังไม่สามารถเก็บเสียงได้ดีที่สุดบ้าง นักร้อง นักดนตรีจึงได้สั่งทำ In ear ที่มีขนาดพอดีกับหูตัวเองออกมา เป็นการเฉพาะ เราเรียกกันว่า In ear custom (คล้ายๆ กับนักกีตาร์เก่งๆ ก็ได้มีการสั่งให้บริษัทกีตาร์ผลิตกีตาร์ในแบบที่ตัวเองต้องการออกมา เรียกว่า Guitar custom เมื่อมีคนสนใจจึงเริ่มทำออกมาขาย เรียกว่า Guitar signature)

เมื่อคนไปดูคอนเสิร์ตเห็นก็อยากจะใช้บ้างจึงเริ่มมีการทำขาย แต่ราคาก็ต้องแพงกว่าปกติถึงหลายเท่า (กีตาร์ก็เหมือนกันถ้าเป็น signature แล้วจะแพงกว่ารุ่นคล้ายๆ กัน 4-5 เท่าตัวทีเดียว ผมว่าน่าจะแพงค่าลายเซ็น 555) แต่สำหรับ นักร้อง นักดนตรี ราคาก็ไม่ได้ถือว่าแพงมากมายอะไร เพราะเขาถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้งาน (ไมค์ตัวละ 500,000 เขาก็ซื้อใช้มาแล้ว) แต่สำหรับผู้ใช้ทั่วไปยังอยู่ในกลุ่มแคบๆ เพราะมีราคาค่อนข้างแพง และไม่สามารถใช้ร่วมกันคนอื่นได้

คนที่เริ่มผลิต In ear ก็คืออเมริกา ฉะนั้น In ear ดีๆ จึงมาจากอเมริกาเกือบทั้งหมด (เพราะเขาทำมาก่อน เป็นต้นแบบ) เช่น Shure , UE , UM เป็นต้น

จากที่เขียนมาตั้งยืดยาวจะเห็นได้ว่า การจะบอกว่า Full size , Ear bud , In ear อะไรดีกว่ากันคงจะเป็นเรื่องยาก เพราะแต่ละตัวมีจุดกำเนิด และการใช้งานไม่เหมือนกัน อยู่ที่เราจะเลือกใช้ (เหมือนกับรถ มีทั้งรถเก๋ง รถกระบะ รถมอไซค์ มันก็อยู่กับสถานการณ์ว่าจะต้องใช้อะไร ไปซื้อของใกล้ๆ ใช้มอไซค์ ใช้รถยนต์เปลืองน้ำมัน หาที่จอดยาก ไปเที่ยวมีของด้วยใช้กระบะ เข้าเมือง ติดต่อธุระใช้รถเก๋ง) ถ้าเดินทางผมใช้ In ear ถ้าอยู่บ้านทำงานเดินไปเดินมาใช้ Ear bud ถ้าต้องการเสียงคุณภาพกันสุดๆ ผมใช้ Full size ครับ

หวังว่าคงไม่น่าเบื่อเกินไปนะครับ แล้วพบกันใหม่ครับ